สอบถามเพิ่มเติมที่ 0xx-xxx-xxxx

หมากผู้หมากเมีย


ชื่อสามัญ
Ti long Plant Tree of Kings


ชื่อวิทยาศาสตร์
Cordyline sp.


ตระกูล
LILIACEAE

ลักษณะทั่วไป

หมากผู้หมากเมียเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดเล็กลักษณะเป็นพุ่ม ลำต้นมีความสูงประมาณ 1-3 เมตร ลำต้นมีขนาดเล็กกลม
ลำต้นมีข้อถี่ ลำต้นมีสีน้ำตาลอ่อน ใบเป็นใบเดี่ยวออกตรงส่วนยอดของลำต้น แตกใบตามข้อต้นใบเป็นรูปหอกปลายใบแหลม
ขอบใบเรียบและมีกาบใบหุ้มลำต้นใบออกเรียงเป็นชั้นสลับกันขนาดใบและสีสรรจะแตกต่างตามชนิดพันธุ์ออกดอกเป็นช่อ
ออกตรงส่วนยอดของลำต้น ปลายช่อดอกมีกลุ่มดอกเล็ก ๆ สีขาว ช่อหนึ่งจะมีช่อดอกย่อยประมาณ 5-10 ดอก

การเป็นมงคล

คนไทยโบราณเชื่อว่าบ้านใดปลูกต้นหมากผู้หมากเมียไว้ประจำบ้านจะทำให้มีความอยู่เย็นเป็นสุขเพราะหมากผู้หมากเมีย
ต้องเป็นของคู่กันเสมอคือคู่สุขคู่สมคู่บ้านคู่เมืองคนไทยโบราณนิยมปลูกไว้ประจำบ้านมาตั้งแต่โบราณกาลมาแล้วนอกจาก
นี้ยังมีความเชื่ออีกว่า ใบของหมากผู้หมากเมีย ยังใช้ประกอบในงานพิธีมงคลที่สำคัญ เช่น ใช้เป็นเครื่องบูชาพระ งานขึ้น
บ้านใหม่ งานแต่งงาน เป็นต้น

ตำแหน่งที่ปลูกและผู้ปลูก

เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านและผู้อาศัย ควรปลูกต้นหมากผู้หมากเมียไว้ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ผู้ปลูกควรปลูกในวันอังคาร เพราะโบราณเชื่อว่าการปลูกเอาประโยชน์ทั่วไปทางใบให้ปลูกในวันอังคาร

การปลูกมี 2 วิธี

1. การปลูกในกระถางเพื่อประดับภายในและภายนอกอาคาร ควรใช้กระถางทรงสูง ขนาด 8-12 นิ้ว ใช้ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก :
    ขุยมะพร้าว : ดินร่วน อัตรา 1: 1 : 1 ผสมดินปลูก ควรเปลี่ยนกระถาง 1 : 2 ปี/ครั้ง เพราะการเจริญเติบโตของทรงพุ่มโตขึ้น
    และเพื่อเปลี่ยนดินปลูกใหม่ ทดแทนดินปลูกเดิมที่เสื่อมสภาพไป
2.การปลูกในแปลงปลูกเพื่อประดับบริเวณบ้านและสวนโบราณนิยมปลูกไว้เป็นแนวรั้วรอบบ้านหรือบริเวณสวนหน้าบ้าน
    ขนาดหลุมปลูก 30 x 30 x 30 เซนติเมตร ใช้ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก : ดินร่วน อัตรา 1 : 1 ผสมดินปลูก

การดูแลรักษา

แสง                          ต้องการแสงรำไร หรือแสงแดดปานกลาง

น้ำ                             ต้องการปริมาณน้ำมาก ควรให้น้ำ 3-5 วัน/ครั้ง

ดิน                           ชอบดินร่วนซุย ดินร่วนปนทราย ต้องการความชื้นสูง

ปุ๋ย                           ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก อัตรา 0.5-1 กิโลกรัม/ต้น ควรใส่ปีละ 5-6 ครั้ง

การขยายพันธ์         วิธีที่นิยมและได้ผลดี คือ การปักชำ

โรค                           ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องโรค เพราะเป็นไม้ที่ทนทานต่อโรคพอสมควร

แมลง                        เพลี้ยหอย

อาการ                 
ถูกดูดกินน้ำเลี้ยง ทำให้ยอดอ่อนและใบแห้ง สีน้ำตาล และแห้งเหี่ยวในที่สุด

การป้องกัน
               รักษาความสะอาดบริเวณแปลงปลูก กำจัดมดที่เป็นพาหะแพร่ระบาด ด้วยยาเช่นเดียวกับการกำจัด

การกำจัด                  ตัดกิ่งที่มีเพลี้ยหอยเผาไฟทำลายใช้ยาเมธาซีสทอกช์หรือ ยาไอโซทอกซ์ อัตราและคำแนะนำระบุไว้ตามฉลาก