สอบถามเพิ่มเติมที่ 0xx-xxx-xxxx

คล้า


ชื่อสามัญ  
                          Calathea

ชื่อวิทยาศาสตร์                  Calathea picturata.,

                                           Calathea roseo-picta.

วงค์                                    MARANTACEAE

ชื่ออื่น                                 คลุ้ม พุทธรักษาน้ำ เทพรักษา

ลักษณะทั่วไป

คล้าเป็นพรรณไม้ที่มีหัวหรือเหง้าอยู่ใต้ดิน การเจริญเติบโตของลำต้นแตกเป็นกอ ลำต้นมีความสูงประมาณ 1-2 เมตร ลำต้นเป็นไม้อวบ น้ำในเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ออกใบเป็นกาบหุ้มลำต้นสลับกัน และมีก้านใบต่อกับแผ่นใบใบมีลักษณะคล้ายรูปไข่ ปลายใบเว้าหรือแหลม ขนาดใบ สีสรร และลักษณะใบจะแตกต่างกันตามชนิดพันธุ์ ออกดอกปลายยอด หรือตามซอก กาบใบ ออกดอกเป็นคู่ ลักษณะดอกเล็กรวมกันเป็นช่อ ลักษณะดอกและสีสรรแตกต่างกันตามชนิดพันธุ์

การเป็นมงคล

คนไทยโบราณเชื่อว่า บ้านใดปลูกต้นคล้าไว้ประจำบ้าน จะช่วยคุ้มครองรักษาให้มีความสงบสุข เพราะ คล้า หรือคลุ้ม คือ การคุ้มครอง ปกป้องรักษาและคนโบราณยังเชื่ออีกว่า คล้า หรือ คล้าคลาด คืการคลาดแคล้วพิษภัยศัตรูทั้งปวง นอกจากนี้คนไทยโบราณยังเรียกคล้าว่า พุทธรักษาน้ำ ดังนั้นจึงถือว่าคล้าเป็นไม้มงคลนาม คือ มีพระพุทธเจ้ารักษานั่นเอง

ชนิดของคล้าที่ใช้ปลูกเป็นไม้มงคล

1. Calathea burle-Marxii ได้แก่
                 : พันธุ์ดอกสีแดง
                 : พันธุ์ดอกสีขาว
                 : พันธุ์ดอกสีเหลือง
2. Rattlesnake Plant (คล้าตะขาบ)         
                 :Calathea crotalifera
3.Cigar Flower Plant
                : Calathea lutea
4. Calathea picturata “Argentea”
                 : คล้าเงิน
5. Peacock plant คล้าหางนกยูง แววมยุรา
                : Calathea makoyana.

ตำแหน่งที่ปลูกและผู้ปลูก

เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านและผู้อาศัยควรปลูกต้นคล้าไว้ทางทิศตะวันออกผู้ปลูกควรปลูกในวันเสาร์ เพราะโบราณเชื่อว่าการปลูกไม้เอาคุณทั่วไปให้ปลูกในวันเสาร์ ถ้าจะให้เป็นสิริมงคลยิ่งขึ้น ผู้ปลูกควรเป็นผู้ใหญ่ที่มีความรับผิดชอบสูง และประกอบคุณงามความดี ก็จะเป็นสิริมงคลยิ่งนัก

การปลูก วิธีที่นิยมปลูกมี 2 วิธี คือ

1). การปลูกในกระถางเพื่อประดับภายในและภายนอกอาคาร ควรใช้กระถางทรงสูง ขนาด 8-14 นิ้ว ใช้ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหม : แกลบผุ :     ดินร่วน อัตราส่วน 1 : 1 : 1 ผสมดินปลูก ควรเปลี่ยนกระถาง 1- 2 ปีต่อครั้ง เพราะการขยายตัวของรากและการแตกกอแน่นเกินไป     และเพื่อเปลี่ยนดินปลูกใหม่ ทดแทนดินปลูกเดิมที่เสื่อมสภาพ ถ้าปลูกเพื่อประดับภายในอาคาร ควรให้ได้รับแสงแดดบ้าง อย่างน้อย    3 – 5 วันต่อครั้ง

2). การปลูกในแปลงปลูกเพื่อประดับบริเวณบ้านและสวนขนาดหลุมปลูก 20 x 20 x 20 เซนติเมตรี ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก : ดินร่วน      อัตรา 1 : 2 ผสมดินปลูก โบราณนิยมปลูกไว้บริเวณรั้วบ้าน ถ้าให้สวยงามควรปลูกรวมกันเป็นกลุ่ม จะมองเห็นสวยงามเด่นชัดมากขึ้น

การดูแลรักษา

แสง                                   ต้องการแสงแดดร่ม รำไร จนถึงแดดจัด หรือกลางแจ้ง

น้ำ                                     ต้องการปริมาณน้ำปานกลาง ควรให้น้ำ 3 – 5 วัน / ครั้ง

ดิน                                     ดินร่วนซุย

ปุ๋ย                                     ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก อัตรา 0.5-1 กิโลกรม/ กอ ใส่ 1 – 2 เดือน/ครั้ง

การขยายพันธุ์                    การแบ่งแยกกอ

โรคศัตรู                            ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องโรคและศัตรูเพราะเป็นพืชที่มีความทนทานต่อสภาพธรรมชาติพอสมควร