สอบถามเพิ่มเติมที่ 0xx-xxx-xxxx

ไผ่

ชื่อสามัญ Bamboo

ชื่อวิทยาศาสตร์ Bambusa sp.

ตระกูล GRAMINEAE

ลักษณะทั่วไป

ไผ่เป็นพรรณไม้ยืนต้น ลำต้นแตกเป็นกอเป็นไม้พุ่มขนาดเล็กถึงขนาดใหญ่ กอหนึ่งมีประมาณ 20-50ต้นลำต้นมีความสูง
ประมาณ 5 – 15 เมตรลักษณะลำต้นเป็นข้อปล้องผิวเกลี้ยงแข็งมีสีเขียวหรือเหลืองแถบเขียวลักษณะของข้อปล้องขนาดและ
สีขึ้นกับชนิดพันธุ์ใบเป็นใบเดี่ยวยาวแคบลักษณะคล้ายรูปหอกขอบใบเรียบผิวใบสีเขียวมีขนอ่อนๆคลุมบนผิวในบขนาด
ใบกว้างประมาณ 1 – 2 นิ้วยาวประมาณ512นิ้วหรือขึ้นกับชนิดพันธุ์ออกดอกเป็นช่อตามปลายยอดบริเวณข้อปล้องเมื่อดอก
แห้งก็จะตายไป ผลหรือลูกคล้ายเมล็ดข้าวสาร

การเป็นมงคล

คนไทยโบราณเชื่อว่า บ้านใดปลูกต้นไผ่ไว้ประจำบ้านทำให้คนในบ้านมีความซื่อตรง ความบริสุทธิ์เพราะต้นไผ่มีการเจริญ
เติบโตแตกกิ่งก้านตรงและเรียบส่วนภายในปล้องมีความขาวสะอาดนี่ก็เป็นความเชื่อของไผ่ทั่วไปสำหรับต้นไผ่สีสุกโบราณ
มีความเชื่ออีกว่า ทำให้เจ้าของบ้านและผู้อาศัยเกิดความมั่งมี อยู่ดีมีสุข เหมือนกับชื่อของต้นไผ่สีสุกเพราะเป็นไม้มงคลนาม

ชนิดของทองหลางที่นิยมปลูกเป็นไม้มงคล

1. ไผ่สีสุก                            
    ชื่อสามัญ                                    : Phai seesuk
    ชื่อวิทยาศาสตร์                           : Bambusa vulgaris
    วงศ์                                           : GRAMINEAE

2. ไผ่เหลืองทอง            
    ชื่อสามัญ                                     : Vellow Running bamboo
    ชื่อวิทยาศาสตร์                           : Phyllostachys sulphurea..
    วงศ์                                            : GRAMINEAE
    ชื่ออื่น                                          : ไผ่ลาย

3. ไผ่น้ำเต้า            
    ชื่อสามัญ                                     : Buddha’s eilly bamboo
    ชื่อวิทยาศาสตร์                           : Bambusa ventricosa..
    วงศ์                                            : GRAMINEAE
    ชื่ออื่น                                          : พระสังขจาย

4.ไผ่เตี้ย            
    ชื่อสามัญ                                     : Phai Tia
    ชื่อวิทยาศาสตร์                           : Schizostachyum sp…
    วงศ์                                            : GRAMINEAE
    ชื่ออื่น                                          : ไผ่ปล้อง

ตำแหน่งที่ปลูกและผู้ปลูก

เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านและผู้อาศัย ควรปลูกต้นไผ่ไว้ทางทิศตะวันออกของบ้าน นิยมปลูกริมรั้วบ้านเพราะแตกกอกว้าง
ใหญ่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับชนิดพันธุ์ด้วยผู้ที่ปลูกควรเป็นผู้ที่เกิดในปีมะแมเพราะต้นไผ่เป็นต้นไม้ประจำปีมะแมนอกจากนี้หาก
ผู้อาศัยในบ้านเกิดปีมะแมด้วยแล้วก็จะเป็นสิริมงคลมากยิ่งขึ้นและถ้าจะให้เป็นมงคลยิ่งขึ้นผู้ปลูกควรปลูกในวันเสาร์เพราะ
โบราณเชื่อว่าการปลูกไม้เพื่อเอาคุณทั่วไปให้ปลูกในวันเสาร์

การปลูกมี 2 วิธี

1. การปลูกในแปลงปลูกเพื่อประดับบริเวณบ้านและสวน โบราณนิยมปลูกบริเวณรั้วบ้าน ขนาดหลุมปลูก 30 x 30 x 30
   เซนติเมตรใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก:ดินร่วนอัตรา 1:2 ผสมดินปลูกและใช้ฟูราดาอัตรา 50-100 กรัม/ต้นรองก้นหลุมเพื่อ
   ป้องกันหนอนและด้วง

2. การปลูกในกระถางเพื่อประดับภายนอกอาคารบ้านเรือน นิยมใช้เป็ฯไม้ประดับภายนอก ควรใช้กระถางทรงสูงขนาด
   18-24 นิ้วใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก:ดินร่วนอัตรา1:1 ผสมดินปลูกและควรเปลี่ยนกระถาง 1-2 ปี/ครั้งหรือแล้วแต่ความ
   เหมาt สมของทรงต้น เพราะการขยายตัวของรากแน่นเกินไป และเพื่อเปลี่ยนดินปลูกใหม่ทดแทนดินเดิมที่เสื่อมส
   ภาพไป สำหรับการปลูกในกระถาง ควรเลือกพันธุ์ขนาดเล็กและเหมาะสม เช่น ไผ่เตี้ย ไผ่น้ำเต้า

การดูแลรักษา

แสง                         ต้องการแสงแดดปานกลาง จนถึงแสงแดดจัด หรือกลางแจ้ง

น้ำ                            ต้องการปริมาณน้ำปานกลาง ควรให้น้ำ 5-7 วัน/ครั้ง

ดิน                           ชอบดินร่วนซุย ความชื้นปานกลาง

ปุ๋ย                          ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก อัตรา 1: 2 กิโลกรัม/ต้น ควรใส่ปีละ 2-4 ครั้ง หรือใช้ปุ๋ยเคมี สูตร 15 – 15 – 15
                                 หรือ 16-20-0 อัตรา 200-300 กรัม/ต้น ใส่ปีละ 2-4 ครั้ง

การขยายพันธ์         การปักชำ การใช้เมล็ด การแยกกอ

โรค                           ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องโรค เพราะมีความทนทานต่อโรคได้ดี

ศัตรู                         แมลงเจาะไชหน่อ และด้วง

อาการ                 
ยอดอ่อนเน่า หักตาย

การป้องกัน               รักษาความสะอาดบริเวณแปลงปลูก ใช้ยาฟูราดาน รองกันหลุมปลูก อัตรา 50 – 100 กรัม/ต้น

การกำจัด                 ใช้ยาคาร์บาริล (Carbaryl) อัตราและคำแนะนำระบุไว้ตามฉลาก