สอบถามเพิ่มเติมที่ 0xx-xxx-xxxx
pagagrong

ผกากรอง

ชื่อสามัญ Cloth of gold ชื่อวิทยาศาสตร์ Lantana camara linn. ตระกูล VERBENACEAE ถิ่นกำเนิด อัฟริกา ลักษณะทั่วไป ผกากรองเป็นไม้พุ่มที่พบทั่วไปในบ้านเรา ใบจะมีสีเขียวเข้ม ใบรูปไข่ขอบใบจักเล็กน้อย ผิวใบจะมีขนอยู่ทำให้รู้สึกสาก ๆ เมื่อจับต้อง ผกากรองนิยมปลูกเป็นไม้ประดับ โดยอาจปลูกเป็นแถวหรืออาจปลูกเป็นกลุ่มให้เกิดเป็นพุ่มก็ได้ ดอกของผกากรองมีลักษณะสีสันที่สวยงามมาก มีหลายสีตั้งแต่เหลือง ชมพูและม่วงเป็นต้น การดูแลรักษา แสง                         ต้องการแสงแดดจัด น้ำ                            ต้องการน้ำน้อย ดิน                          สามารถปลูกได้ในดินทุกชนิดแต่ดินที่เหมาะคือดินร่วนปนทรายที่มีการระบายน้ำดี ปุ๋ย                           ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักบริเวณโคนต้น การขยายพันธ์          โดยการเพาะเมล็ดและปักชำ (ส่วนใหญ่แล้วนิยมการปักชำเพราะสะดวกและรวดเร็วกว่า) โรคและแมลง           ไม่ค่อยพบโรคและแมลงรบกวนเท่าไหร่

Read More »
keaw

แก้ว

ชื่อสามัญ Orang jessamine ชื่อวิทยาศาสตร์ Muraya paniculata. ตระกูล PUTACEAE ถิ่นกำเนิด – ลักษณะทั่วไป แก้วเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลางลำต้นมีความสูงประมาณ5-10 เมตรเปลือกลำต้นสีขาวปนเทาลำต้นแตกเป็นสะเก็ดเป็นร่องตามยาวการแตกกิ่งก้านของทรงพุ่มไม่ค่อยเป็นระเบียบใบออกเป็นช่อเป็นแผงออกใบเรียงสลับกันช่อหนึ่งประกอบด้วยใบย่อยประมาณ 4-8 ใบใบเป็นมันสีเขียวเข้มขยี้ดูจะมีกลิ่นฉุนแรงขอบใบเรียบเป็นคลื่นเล็กน้อยขนาดของใบกว้างประมาณ 2 – 4 เซนติเมตร ยาวประมาณ3-6 เซนติเมตรออกดอกเป็นช่อใหญ่ช่อสั้นออกตามปลายกิ่งหรือยอดช่อหนึ่งมีดอกประมาณ 5 – 10 ดอก แต่ละดอกมีกลีบดอก 5 กลีบ ดอกสีขาว กลิ่นหอม ดอกบานเต็มที่กว้างประมาณ 2 – 3 เซนติเมตร ผลรูปไข่ รีปลายทู่ มีสีส้ม ภายในมีเมล็ด 1 – 2 เมล็ด การเป็นมงคล คนไทยโบราณเชื่ว่า บ้านใดปลูกต้นแก้วไว้ประจำบ้านจะทำให้คนในบ้านมีความดี มีคุณค่าสูง เพราะคำว่า แก้ว นั้นหมายถึงสิงที่ดีมีค่าสูงเป็นที่นับถือบูชาของบุคคลทั่วไปซึ่งโบราณได้เปรีบเทียบของที่มีค่าสูงนี้เสมือนดั่งดวงแก้วนอกจากนี้คนโบราณยังมีความเชื่ออีกว่า บ้านใดปลูกต้นแก้วไว้ประจำบ้านจะทำให้เป็นคนที่มีจิตใยบริสุทธิ์ มีความเบิกบาน เพราะแก้วคือความใสสะอาดความสดใสนอกจากนี้ดอกแก้วยังมีสีขาวสะอาดสดใสมีกลิ่นหอมนวลไปไกลและยังนำดอกแก้วไปใช้ในพิธีบูชาพระในพิธี ทางศาสนาได้เป็นสิริมงคลยิ่งอีกด้วย ตำแหน่งที่ปลูกและผู้ปลูก เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านและผู้อาศัย

Read More »
tourang

เต่าร้าง

ชื่อสามัญ Fishtail palm ชื่อวิทยาศาสตร์ Caryota mitis. ตระกูล PALMAE ถิ่นกำเนิด เอเซียจนถึงหมู่เกาะแปซิฟิก เช่นไทย อินเดีย ลังกา ออสเตรเลีย ลักษณะทั่วไป เต่าร้างนี้เป็นปาล์มที่มีใบสวยงามมาก เป็นปาล์มที่มีหน่อขึ้นอยู่เป็นกอใบมีลักษณะรูปขนนก สีเขียวเข้มเป็นมันลักษณะของใบย่อยคล้ายครีบหรือหางปลา เวลาลมพัดใบโบกสะบัดดูงดงามยิ่ง เต่าร้างนี้เมื่อต้นยังเล็กนิยมปลูกในกระถาง ตั้งประดับไว้ในอาคารบ้านเรือนจนโตได้ขนาด จึงย้ายลงปลูกที่ดิน การดูแลรักษา แสง                         ต้องการแสงมาก แต่ก็สามารถปรับตัวให้เข้ากับบรรยาศภายในร่มที่มีแสงน้อยได้ น้ำ                            ต้องการน้ำและความชื้นมาก  ดิน                          สามารถปลูกได้ในดินทุกชนิดแต่ดินที่เหมาะคือดินร่วนปนทราย ปุ๋ย                          ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก ปีละ 2 ครั้ง การขยายพันธ์          โดยการเพาะเมล็ดและแยกหน่อ โรคและแมลง           เต่าร้างไม่ค่อยมีโรคแมลงเท่าไหร่ แต่จะมีไรแดงรบกวนบ้างในช่วงที่อากาศแห้งแล้ง การป้องกันกำจัด     ฉีดพ่นด้วยมาลาไธออน ตามอัตราที่กำหนดไว้ในฉลาก

Read More »
jung

จั๋ง

ชื่อสามัญ Lady palm ชื่อวิทยาศาสตร์ Rhapis exclesa. ตระกูล PALMAE ถิ่นกำเนิด ไทย จีน ญี่ปุ่น มาเลเซีย ลักษณะทั่วไป จั๋งเป็นปาล์มที่มีขนาดเล็ก ลำต้นมีขนาดเท่าหัวแม่มือหรือใหญ่กว่าเล็กน้อย โดยทั่วไปมีเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน 2 นิ้ว ลำต้นเป็นกอคล้ายกอไผ่ มีความแข็งแรงมาก กอหนึ่งจะสูงประมาณ 3 – 5 เมตร ใบมีสีเขียวเข้มเป็นมันรูปใบพัดและมีใบย่อยแตกออกจากกันเป็นแฉกลึกใบ 1 ใบจะมีใบย่อยประมาณ 5 – 10 ใบ ก้านใบเล็ก มีสีเขียวและแข็งยาวประมาณ 12 นิ้ว การดูแลรักษา แสง                          ชอบแสงแดดมาก น้ำ                            ต้องการน้ำพอประมาณ  ดิน                          เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุย ปุ๋ย                           ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก ปีละ 2 ครั้ง การขยายพันธ์          โดยการเพาะเมล็ดและแยกหน่อ (การเพาะเมล็ดจะได้ต้นที่มีรูปทรงสวยงามกว่า) โรคและแมลง           ทนทานต่อโรคและแมลงได้ดี

Read More »
grapro

กะพ้อ

ชื่อสามัญ                : Fan palmชื่อวิทยาศาสตร์        : Licuala sqinosaตระกูล                  : PALMAEถิ่นกำเนิด               : ทางภาคใต้ของไทย มาเลเซีย                                     และอินโดนีเซีย ลักษณะทั่วไป กะพ้อเป็นปาล์มพื้นเมืองที่มีอยู่ทั่วไปในบ้านเรา กะพ้อมีต้นเป็นกอสูงประมาณ 15 – 20 ฟุต ใบรูปใบพัด ก้านใบยาวเล็กมีใบย่อยแตกออกจากกันและแตกออกจากจุดเดียวกัน ที่ก้านใบแต่ละใบจะมีใบย่อยประมาณ 12 – 18 ใบ ตามใบย่อยมีรอยจีบ ปลายใบตัด ใบย่อยยาวประมาณ 1 ฟุต และกว้าง 4-5 นิ้ว ใบสีเขียวเข้ม เมื่อเจริญ เติบโตไปสักระยะหนึ่งจะเกิดหน่ออกมาตามบริเวณโคนต้นมากมาย กะพ้อเจริญเติบโตได้ดีในที่โล่งแจ้งสามารถปลูกในสนามหญ้าเพื่อให้มันแตกกอเป็นพุ่มหรือจะทำเป็นสวนหย่อม การดูแลรักษา แสง                  : ชอบแสงแดดจัด น้ำ                    : ต้องการปริมาณน้ำพอสมควร ดิน                    : ขึ้นได้ในดินแทบทุกชนิด แต่จะเจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนปุ๋ย                     : ให้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักบริเวณโคนต้น ปีละ 2 ครั้งการขยายพันธุ์       : โดยการเพาะเมล็ด และแยกหน่อ โรคและแมลง        : ทนทานต่อโรคและแมลงได้ดี

Read More »
maknoul

หมากนวล

ชื่อสามัญ Manila palm Christmas palm ชื่อวิทยาศาสตร์ Veitchia merrillii. ตระกูล PALMAE ชื่ออื่น หมากมนิลา ปาล์มเยอรมัน หมากคอนวล ลักษณะทั่วไป หมากนวลเป็นพรรณไม้ยืนต้นประเภทปาล์มมีทรงพุ่มขนาดกลางลำต้นมีความสูงประมาณ 5-10 เมตรการเจริญเป็นลำต้นเดี่ยวไม่มีหน่อ ลำต้นตรงสูง ผิวลำต้นสีน้ำตาลปนเทา ลำต้นเป็นข้อปล้องเห็นได้ชัด ใบเป็นใบรวม แตกออกจากทางใบเป็นรูปขนตกเรียงกันเป็นแถวอย่างเป็นระเบียบลักษณะใบแคบยาว ขนาดใบมีความกว้างประมาณ 3-5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 50 – 60 เซนติเมตรตัวใบมีสีเขียวเรียบเป็นมันทางใบยาวประมาณ 1-2 เมตรลักษณะโค้งเล็กน้อยโคนทางจะเป็นกาบหุ้มลำต้นมีสีเขียวอ่อนปนขาวนวลออกดอกเป็นช่อคล้ายจั่นหมากก้านดอกมีสีขาวนวลลักษณะของดอกมีขนาดเล็กรวมกันอยู่เป็นจำนวนมากมีสีขาวอมเหลือง ผลเล็กกลมรีมีสีเขียวอ่อน เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีแดงสด ภายในผลมีเมล็ดอยู่เพียงเมล็ดเดียว การเป็นมงคล คนไทยโบราณเชื่อว่าบ้านใดปลูกต้นหมากนวลไว้ประจำบ้านจะทำให้มีความอ่อนน้อมความมีน้ำใจเพราะหมากนวลมีการแตกใบที่สวยงานลักษณะที่มีความนิ่มนวลอ่อนไหวนอกจากนี้ลักษณะการแตกใบของหมากนวลยังมีลักษณะที่โดดเด่นสง่านวลชวนมองนอกจากนี้ยังมีการเปรียบเทียบหมากนวลไว้ว่าเป็นชื่อหมากชนิดหนึ่งที่ใช้รับประทานในสมัยโบราณคือหมากสงให้ในพิธี ต้อนรับแขกที่ไปมาหาสู่กัน ดังนั้นจึงแสดงถึงการมีนิสัยใจคอที่ดี มีน้ำใจงาม หมากที่ได้รับความนิยมปลูก 1.หมากเหลือง 2.หมากแดง 3.หมากเขียว ตำแหน่งที่ปลูกและผู้ปลูก เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านและผู้อาศัย ควรปลูกต้นหมากนวลไว้ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ผู้ที่ปลูกควรปลูกในวันอังคาร เพราะโบราณเชื่อว่าการปลูกไม้เอาประโยชน์ทั่วไปทางใบให้ปลูกในวันอังคาร การปลูกมี 2 วิธี 1.การปลูกในแปลงปลูกเพื่อประดับบริเวณบ้านและสวน ขนาดหลุมปลูก

Read More »
makkreaw

หมากเขียว

ชื่อสามัญ Mac Arthur palm ชื่อวิทยาศาสตร์ Ptychosperma macarthuri ตระกูล PALMAE ถิ่นกำเนิด หมู่เกาะนิวกินี ลักษณะทั่วไป หมากเขียวนี้จะแตกหน่อขึ้นเป็นกอรอบลำต้นลักษณะของกอสูงประมาณ 10 – 20 ฟุต ลำต้นมีขนาด 3 – 4 นิ้วมีสีเขียวปนเทาหรือน้ำตาลปนเทา เมื่อแก่มีข้อปล้องที่มองเห็นได้ชัดที่ลำต้นใบมีสีเขียวแก่ ส่วนใต้ใบสีเขียวอ่อนมีลักษณะรูปขนนก ทางใบยาวประมาณ 8 – 9 ฟุต ก้านใบยาว 1 – 2 ฟุต ใบย่อยยาวประมาณ 3 – 4 ฟุตปลายใบตัดและเป็นฟันแหลม นิยมปลูกเป็นไม้ประดับกันมาก สามารถอยู่ได้ทั้งในร่มและกลางแดด หมากที่ได้รับความนิยมปลูก 1.หมากเหลือง 2.หมากแดง 3.หมากนวล ลักษณะทั่วไปการดูแลรักษา แสง                          ชอบแสงแดดจัด ควรปลูกเอาไว้กลางแจ้ง น้ำ                             ต้องการน้ำพอประมาณ ดิน                            เจริญเติบโตได้ในดินแทบทุกชนิด ปุ๋ย                            ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก ปีละ 2 ครั้ง การขยายพันธ์          โดยการเพาะเมล็ด

Read More »

หมากเหลือง

ชื่อสามัญ Yallow palm ชื่อวิทยาศาสตร์ Chrysalidocarpus lutescens. ตระกูล PALMAE ถิ่นกำเนิด มาดากัสก้า ลักษณะทั่วไป หมากเหลืองเป็นปาล์มที่มีหน่อเป็นกอขึ้นรวมกัน กอหนึ่งจะมีประมาณ 6 – 12 ต้น สูงประมาณ 25 – 30 ฟุตลำต้นมีข้อปล้องโค้งออกจากโคนกอ แลดูสวยงามยิ่ง ใบเป็นใบรูปขนนก ทางใบยาว 6 – 8 ฟุต กาบใบจะห่อหุ้มลำต้นไว้ หมากเหลืองเป็นปาล์มที่ได้รับความนิยม นำมาตกแต่งประดับประดาตามสถานที่เป็นอย่างมาก เพราะความสวยงามและมีรูปร่างที่ไม่เล็กและก็ไม่ใหญ่จนเกินไป หมากที่ได้รับความนิยมปลูก 1.หมากแดง 2.หมากเขียว 3.หมากนวล การดูแลรักษา แสง                          ชอบแสงแดด ควรปลูกในที่โล่ง กลางแจ้ง น้ำ                             ในระยะกำลังเจริญเติบโตควรรดน้ำทุกวัน ดิน                            ควรเป็นดินร่วนเหนียวหรือดินเหนียวที่มีอินทรีย์วัตถุพอสมควร ปุ๋ย                            ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก ปีละ 2 ครั้ง การขยายพันธ์          โดยการเพาะเมล็ด แยกหน่อ โรคและแมลง           ไม่ค่อยพบโรคที่ทำความเสียหาย จะมีปัญหาก็แต่แมลงเท่านั้น ได้แก่ หนอนปลอก หนอนเจาะลำต้น การป้องกันกำจัด     ใช้ไซกอนอัตรา

Read More »
makdang

หมากแดง

ชื่อสามัญ Sealing wax palm ชื่อวิทยาศาสตร์ Cyrtostachys lakka ตระกูล POLMAE ถิ่นกำเนิด ภาคใต้ของไทย มาเลเซีย และหมู่เกาะแปซิฟิก ลักษณะทั่วไป หมากแดงนี้เป็นปาล์มตระกูลเดียวที่มีสีแดงสดงดงามมาก เป็นปาล์มที่มีกอสูงถึงประมาณ 15 ฟุต ลำต้นตั้งตรงมีข้อปล้องเห็นได้ชัด กาบใบมีสีแดงทางใบก็มีสีแดงสด และโค้งงอลงด้านล่าง ใบรูปขนนก มีใบย่อย 25 คู่ ใบย่อยยาวประมาณ 18 นิ้ว ด้านบนสีเขียวแก่ ด้านล่างสีเขียวอ่อน มีสีเหลือบเงินเล็กน้อย ก้านใบจะสั้นยาวประมาณ 6 นิ้ว ในบ้านเราเท่าที่พบจะมีหมากแดงที่ปลูกกันอยู่ทั่วไป 2 ชนิด คือชนิดสีส้มและชนิดสีแดงหมากแดงนี้ทางภาคใต้ของบ้านเราเรียกว่า หมากก้นแดงหรือกาบแดง หมากที่ได้รับความนิยมปลูก 1.หมากเหลือง 2.หมากเขียว 3.หมากนวล การดูแลรักษา แสง                          ต้องการแสงพอประมาณ ควรปลูกไว้ในที่ ๆ มีแสงแดดรำไร น้ำ                             หมากแดงชอบน้ำแต่ไม่ควรให้แฉะถึงกับมีน้ำขัง ดิน                            เจริญเติบโตได้ในดินแทบทุกชนิด ปุ๋ย                            ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก ปีละ 2 ครั้ง การขยายพันธ์          โดยการเพาะเมล็ด

Read More »
sepsongpuna

สิบสองปันนา

ชื่อสามัญ Dwarf date palm ชื่อวิทยาศาสตร์ Phoenix roebelenii. ตระกูล PALMAE ถิ่นกำเนิด แถบอินโดจีน และภาพเหนือของไทย ลักษณะทั่วไป สิบสองปันนานั้นเป็นปาล์มในตระกูลอินทผาลัม เชื่อกันว่าสิบสองปันนาต้นเดิมที่เป็นปาล์มนั้น เป็นต้นอินทผาลัมที่ไม่มีหน่อ สิบสองปันนาเป็นปาล์มที่มีลำต้นเดี่ยวโดด ๆ สูงประมาณ 1.80 เมตร ใบเป็นใบแบบขนนก ทางใบยาว 1 ฟุต ถึง 1 1/2 ฟุต โค้งงอลงด้านล่าง ใบมีสีเขียวเข้มเป็นมัน ส่วนใต้ใบจะมีสีเขียวอ่อนปนเทาคล้ายกับแป้งเคลื่อนอยู่ การดูแลรักษา แสง                          ต้องการแสงแดดตลอดวัน น้ำ                             ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง ดิน                           ดินร่วนที่มีการระบายน้ำได้ดี น้ำไม่ขังแฉะ ปุ๋ย                           ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก ปีละ 2 ครั้ง การขยายพันธ์          โดยการเพาะเมล็ด แยกหน่อ โรคและแมลง           เพลี้ยแป้ง ตั๊กแตนกันใบและหนอนม้วนใบ การป้องกันกำจัด     ฉีดพ่นด้วยมาลาไธออนหรือไดเมทโธเอธหรือจะใช้ยาดูดซึมพวกไซกอนก็ได้

Read More »