ชื่อสามัญ Burma Padauk
ชื่อวิทยาศาสตร์ Plerocapus indicus.
ตระกูล PAPILIONACEAE
ลักษณะทั่วไป
ประดู่เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่มีความสูงประมาณ10-25 เมตรผิวเปลือกลำต้นมีสีดำหรือเทาลำต้นเป็นพู
ไม่กลมแตกกิ่งก้านสาขากว้างมีเรือนยอดทึบแตกเป็นสะเก็ดร่องตื้นๆใบเป็นช่อแตกออกจากปลายกิ่งมีใบย่อยประกอบอยู่
ประมาณ 6-12 ใบ ลักษณะของใบเป็นรูปมนรีปลายใบแหลม โคนใบมน ขอบใบเรียบเป็นมันสีเขียว ใบมีขนาดยาวประมาณ
2-3 นิ้ว กว้างประมาณ 1-2 นิ้ว ออกดอกเป็นช่อออกตามปลายกิ่ง ดอกมีขนาดเล็กสีเหลือง ผลมีขนเล็ก ๆปกคลุมขนาดผลโต
ประมาณ 4-6 เซนติเมตร
การเป็นมงคล
คนไทยโบราณเชื่อว่า บ้านใดปลูกต้นประดู่ไว้ประจำบ้านจะทำให้เกิดพลังแห่งความยิ่งใหญ่เพราะ ประดู่ คือ ความพร้อม ความร่วมือ ร่วมใจสามัคคี มีพลังเป็ฯอันหนึ่งอันเดียวกัน นอกจากนี้ดอกของประดู่ยังมีลักษณะที่ระดมกันบานเต็มต้นดูลานตา ดังนั้นคนโบราณจึงได้เลือกเอาต้นประดู่เป็นไม้ประจำกอง กองทัพเรือ และคนไทยโบราณยังเชื่ออีกว่า ส่วนของแก่นไม้ยังใช้เป็นศิลปะการดนตรี ที่สำคัญของคนพื้นเมืองในสมัยโบราณอีกด้วย คือใช้ทำเป็นเครื่องเสียงพวกระนาด นั่นก็หมายถึง ความแข็งแกร่ง แข็งแรง
ตำแหน่งที่ปลูกและผู้ปลูก
นิยมปลูกในแปลงปลูกเพื่อประดับบริเวณบ้านและสวนขนาดหลุมปลูก 50x50x50 เซนติเมตรใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก
:ดินร่วนอัตรา 1:2 ผสมดินปลูกถ้าปลูกประดับบ้านเรือนหรืออาคารควรปลูกให้มีระยะห่างที่เหมาะสมเพราะประดู่เป็นไม้
ที่มีทรงพุ่มใหญ่
การปลูก
เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านและผู้อาศัยควรปลูกต้นประดู่ไว้ทางทิศตะวันตกผู้ปลูกควรปลูกในวันเสาร์เพราะโบราณเชื่อว่าการ
ปลูกไม้เพื่อเอาคุณให้ปลูกในวันเสาร์ถ้าจะให้เป็นมงคลยิ่งขึ้นผู้ปลูกควรเป็นผู้ใหญ่ที่ควรเคารพนับถือและเป็นผู้ที่ประกอบคุณ
งามความดีก็จะเป็นสิริมงคลยิ่งนัก
การดูแลรักษา
แสง ต้องการแสงแดดจัด หรือกลางแจ้ง
น้ำ ต้องการปริมาณน้ำปานกลาง ควรให้น้ำ 5-7 วัน/ครั้ง
ดิน ชอบดินร่วนซุย
ปุ๋ย ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก อัตรา 1: 2 กิโลกรัม/ต้น ควรใส่ปีละ 4-5 ครั้ง หรือใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15
อัตรา 300-500 กรัม/ต้น ใส่ปีละ 3-4 ครั้ง
โรคและศัตรู ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องโรคและศัตรู เพราะมีความทนทานสภาพธรรมชาติได้ดี