สอบถามเพิ่มเติมที่ 0xx-xxx-xxxx

ไทร


ชื่อสามัญ Banyan Tree

ชื่อวิทยาศาสตร์ Ficus annlata.

ตระกูล MORACEAE

ลักษณะทั่วไป

ไทรเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ลำต้นมีความสูงประมาณ 10-20 เมตร ลำต้นครงแตกกิ่งก้านเป็นพุ่มทึบ
บางชนิดก็เป็นพุ่มโปร่ง มีรากอากาศห้อยลงมาตามกิ่งก้านและลำต้น ผิวเปลือกเรียบสีขาวปนเทา ใบเป็นใบเดี่ยวแตกออก
จากกิ่ง และส่วนยอดของลำต้น ใบออกเป็นคู่สลับกัน ลักษณะใบ ขนาดใบ และสีสรรแตกต่างกันตามพันธุ์

การเป็นมงคล

คนไทยโบราณเชื่อว่า บ้านใดปลูกต้นไทรไว้ประจำบ้านจะทำให้เกิดความร่มเย็น เพราะคนโบราณได้กล่าวว่า ร่มโพธิ ร่มไทร
ช่วยทำให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุขนอกจากนี้ยังช่วยคุ้มครองป้องกันภัยอันตรายทั้งปวงเพราะบางคนเชื่อว่าต้นไทรเป็ฯต้นไม้
ที่ศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งมีเทพารักษ์อาศัยอยู่คอยคุ้มครองพิทักษ์ปวงชนให้มีความอยู่เย็นเป็นสุข

ชนิดของไทรที่นิยมปลูกเป็นไม้มงคล

1. ไทรยอดทอง                            
2. ไทรย้อย                                    : (Weeping Fig)
3.  ไทรใบเล็ก                            .
4.  ไทรใบยาว                                :(Ficus barteri)
5.  ไทรสุวรรณ                                : (Variegated Mini-rubber)            
6.  ไทรด่าง                                     : (Cleyera japonica)

ตำแหน่งที่ปลูกและผู้ปลูก

เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านและผู้อาศัยควรปลูกต้นไทรไว้ทางทิศตะวัตตกผู้ปลูกควรปลูกในวันอังคารเพราะโบราณเชื่อว่าการ
ปลูกไม้เพื่อเอาประโยชน์ทางใบให้ปลูกในวันอังคาร

การปลูกมี 2 วิธี

1.การปลูกในแปลงปลูกเพื่อประดับบริเวณบ้านและสวนโบราณนิยมปลูกไว้เพื่อประดับบริเวณสวนเพราะเป็นไม้ที่มีการแตก
   กิ่งก้าน สาขาที่กว้างใหญ่ ขนาดหลุมปลูก 30 x 30 x 30 เซนติเมตร ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก : ดินร่วน อัตรา 1 : 2 ผสมดินปลูก

2.การปลูกในกระถางเพื่อประดับภายในและภายนอกอาคาร ควรใช้กระถางทรงสูงขนาด 12-18 นิ้ว ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก :
   แกลบผุ:ดินร่วนอัตรา 1:1:1 ผสมดินปลูกควรเปลี่ยนกระถาง1-2 ปี/ครั้งหรือแล้วแต่ความเหมาะสมของทรงพุ่มทั้งนี้ก็เพราะ
   การเจริญเติบโตของทรงพุ่มโตขึ้นและเพื่อต้องการเปลี่ยนดินปลูกใหม่ทดแทนดินปลูกเดิมที่เสื่อมสภาพไปการปลูกทั้ง2วิธี
   ดังกล่าวสามารถตัดแต่งและบังคับรูปทรงของทรงพุ่มได้ตามความต้องการผู้ปลูกนอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับชนิดพันธุ์ด้วยว่าพันธุ์
   ด้วยว่าพันธุ์ใดจะเหมาะสมกับวิธีการปลูกแบบใด ตามวัตถุประสงค์ผู้ปลูก

การดูแลรักษา

แสง                          ต้องการแสงแดดอ่อน จนถึงแสงแดดจัด หรือกลางแจ้ง

น้ำ                             ต้องการปริมาณน้ำปานกลาง จนถึงมาก ควรให้น้ำ 3-5 วัน/ครั้ง

ดิน                           ชอบดินร่วนซุย ดินร่วนปนทราย ความชื้นปานกลาง

ปุ๋ย                           ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก อัตรา 0.5: 2 กิโลกรัม/ต้น ควรใส่ปีละ 4-5 ครั้ง

การขยายพันธ์          การปักชำ การตอน การใช้เมล็ด วิธีที่นิยมและได้ผลดีคือ การตอนและการปักชำ

โรค                            ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องโรค เพราะมีความทนทานต่อโรคได้ดี

ศัตรู                          เพลี้ยแป้ง (Mealy bugs)

อาการ                  
กัดแทะใบ ทำให้ใบเป็นรู เป็นรอย ต่อมาใบจะเหลืองและแห้ง

การป้องกัน                การรักษาความสะอาดบริเวณแปลงปลูก การกำจัดพาหนะแพร่ระบาด พวกมดต่าง ๆ

การกำจัด                   ใช้ยาไดอาซินอน อัตราและคำแนะนำระบุไว้ตามฉลาก