ชื่อวิทยาศาสตร์ Jasminum adenophyllum., Wall
ตระกูล OLEACEAE
ชื่อสามัญ Scented star jasmine, Climbing jasmine.
ลักษณะทั่วไป
ต้น มะลิวัลย์เป็นไม้เถาเลื้อย เนื้อแข็ง ลำต้นหรือเถามีขนาดเล็ก กลม ผิวเกลี้ยง เถาส่วนที่อ่อน
เป็นสีเขียว ส่วนเถาที่แก่แล้วจะเป็นสีน้ำตาลอ่อน และสามารถเลื้อยพันต้นไม้อื่นไปได้ไกล
ใบ ใบมะลิวัลย์จะแตกออกเป็นคู่เรียงกันไปตามข้อต้น ใบยาวประมาณ 5 เซนติเมตร ใบเป็นสี
เขียวอมเหลือง ลักษณะใบบางแต่แข็ง ใบเป็นรูปมนรีปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ไม่มีจัก
ดอก ออกดอกเป็นช่อตามข้อต้น ดอกมีสีขาว ก้านดอกสีน้ำตาลอ่อน มีความยาวประมาณ 3 เซนติ
เมตร ลักษณะของดอกจะคล้ายกับดอกมะลิลาดอกช่อหนึ่ง ๆ จะมีดอก 2-6 ดอก กลีบดอกเรียว
ยาวมี 7 กลีบ มะลิวัลย์เป็นพันธุ์ไม้ที่ออกดอกดก เวลาออกดอกจะดูขาวไปทั้งต้น ดอกมีกลิ่น
หอมแรง และจะส่งกลิ่นหอมไปได้ในระยะไกล ๆ
ฤดูกาลออกดอก
มะลิวัลย์จะออกดอกเป็นระยะตลอดปี
การปลุก
อาจจะปลูกในกระถางแล้วตัดเป็นทรงพุ่มก็ได้ หรือปลูกลงดินริมรั้ว หรือกำแพง แล้วปล่อยให้เถาเลื้อย
พาดไปตามขอบกำแพง เมื่อยามออกดอกก็จะดูสวยดี การปลูกก็ให้นำกิ่งที่ได้จากการปักชำมาปลูก
การดูแลรักษา
แสง มะละวัลย์เป็นไม้ที่ต้องการแสงแดดจัด ในการสังเคราะห์แสงและการเจริญเติบโต รวมทั้ง
เกี่ยวการออกดอกของมะลิวัลย์ด้วย
น้ำ มีความต้องการน้ำปานกลาง ค่อนข้างมากแต่ไม่ถึงกับแฉะ ไม่ควรให้ขาดน้ำ ควรรดน้ำอย่าง
สม่ำเสมอ วันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น
ดิน มะลิวัลย์เป็นพันธุ์ไม้ที่ขึ้นง่าย และเจริญเติโตได้ดีในดินแทบทุกชนิด แต่ถ้าเป็นดินร่วน
ซุยที่มีส่วนผสมของปุ๋ยหมักก็จะยิ่งดี
ปุ๋ย หากต้องการให้ออกดอกดก ควรใส่ปุ๋ยไนโตรเจน สัปดาห์ละ 2 ครั้ง
โรคและแมลง
เรื่องโรคมักจะไม่มีปัญหามากนัก สำหรับแมลงก็อาจจะมีบ้าง เช่น หนอนเจาะดอก และหนอนมวนใบส้ม
แต่ก็ไม่ได้ทำความเสียหายกับมะลิวัลย์มากนัก
การป้องกันกำจัด
ควรแต่งกิ่งมะลิวัลย์ให้ดูโปร่ง ให้ทรงพุ่มได้รับแสงอย่างทั่วถึง หรือถ้ามีหนอนมากก็ให้ใช้ฟอสเฟต
เช่น โมโนโครโตฟอส (อโซ ดริน 56 % ดับเบิลยู เอส ซี) อัตรา 20-30 ซี. ซี. ฉีดพ่นในตอนบ่าย
การขยายพันธุ์
มะลิวัลย์มีวิธีการขยายพันธุ์โดยการปักชำกิ่ง ตอนกิ่ง และการทาบกิ่ง