ชื่อสามัญ Crow of Thorns
ชื่อวิทยาศาสตร์ Euphorbia millii.
ตระกูล EUPHORBIACEAE
ลักษณะทั่วไป
โป๊ยเซียน์เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดย่อม ลำต้นมีความสูงประมาณ 3-5 ฟุต ลำต้นมีหนามปกคลุม หนามแหลม และแข็ง
เปลือกลำต้นมีสีเทาหรือเขียวจัด เมื่อกรีดดูลำต้นจะมียางสีขาว ใบเป็นใบเดี่ยว ออกจากยอดและลำต้นจะทยอยกันออก
ลักษณะใบมนรีค่อนค้างแคบเรียวแหลมขอบใบเรียบพื้นใบสีเขียวดอกออกตามปลายกิ่งออกดอกตามปลายกิ่งหรือส่วน
ยอดดอกมีขนาดเล็กมีสีแดง เหลือง ชมพู มีกลีบดอก 1 คู่ เป็นรูปไต มีขนาดประมาณ 1-2 เซนติเมตร ลักษณะลำต้น ใบ
และดอก จะแตกต่างกันไปตามชนิดพันธุ์
การเป็นมงคล
คนไทยโบราณเชื่อว่าบ้านใดปลูกต้นโป๊ยเซียนไว้ประจำบ้านจะนำโชคลาภมาให้คนในบ้านเพราะต้นโป๊ยเซียนเป็นไม้
เสี่ยงทายคือ ถ้าผู้ใดปลูกต้นโป๊ยเซียนออกดอกได้ 8 ดอกขึ้นไปผู้นั้นก็จะมีโชคลาภตามไปด้วย นอกจากนี้ยังเชื่ออีกว่า
ต้นโป๊ยเซียนยังช่วยคุ้มครองให้มีความอยู่เย็นเป็นสุขเพราะต้นโป๊ยเซียนเป็นต้นไม้แห่งเทพเจ้า8องค์ที่คอยคุ้มครอง
โลกมนุษย์
เทพเจ้า 8 องค์ ได้แก่
1. เซียนพิการ 2. เซียนหอสมุด
3. เซียนอาจารย์ 4. เซียนค้างคาวเผือก
5. เซียนวนิพก 6. เซียนสาวสวย
7. เซียนกวี 8. เซียนถ้ำ
ตำแหน่งที่ปลูกและผู้ปลูก
เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านและผู้อาศัยควรปลูกต้นโป๊ยเซียนไว้ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ผู้ปลูกควรปลูกในวันพุธเพราะโบ
ราณเชื่อว่าการปลูกไม้เอาประโยชน์ทั่วไปทางดอกให้ปลูกในวันพุธถ้าจะให้เป็นมงคลยิ่งขึ้นผู้ปลูกควรเป็นผู้ใหญ่ที่มีความ
รับผิดชอบสูง เป็นผู้ที่ควรเคารพนับถือและประกอบคุณงามความดีก็จะเป็นสิริมงคลยิ่งขึ้น
การปลูกมี 2 วิธี
1. การปลูกในกระถางเพื่อประดับอาคารบ้านเรือน เหมาะสำหรับใช้เป็นไม้ดอกประดับภายนอก ขนาดกระถางปลูก 8-12 นิ้ว
ควรเป็นกระถางทรงสูง ใช้ดินร่วน : แกลบผุ : เปลือกถั่ว หรือไบไม้ผุ อัตรา 1 : 1 : 2 ผสมดินปลูกและควรเปลี่ยนกระถาง
ปีละครั้ง เพื่อการเปลี่ยนดินปลูกใหม่แทนดินปลูกเดิมที่เสื่อมสภาพไป
2. การปลูกในแปลงปลูกเพื่อประดับบริเวณบ้านและสวนนิยมปลูกไว้ใกล้ๆกับบ้านเพราะมีเวลาดูแลรักษาที่ใกล้ชิดจะทำให้
เกิดดอกที่สวยงาม ขนาดหลุมปลูก 30 x 30 x 30 เซนติเมตร ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก : ดินร่วน อัตรา 2: 1 ผสมดินปลูก
การดูแลรักษา
แสง ต้องการแสงแดดรำไร จนถึงแสงแดดจัด หรือกลางแจ้ง
น้ำ ต้องการปริมาณน้ำน้อย ทนต่อความแห้งแล้ง ควรให้น้ำ 5-7 วัน/ครั้ง
ดิน ชอบดินร่วนซุย ดินผสมพิเศษ
ปุ๋ย ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยอินทรีย์ผสมพิเศษ อัตรา 0.5-1 กิโลกรัม/ต้น ควรใส่ 1-2 ครั้ง/เดือน
การขยายพันธ์ การปักชำ การเสียบยอด การเพาะเมล็ด วิธีที่นิยมและได้ผลดี คือ การปักชำและการเสียบยอด
โรค โรครากเน่า
อาการ โคนต้นมีเส้นใยสีขาวและเหลือง หลังจากนั้นใบและลำต้นเหี่ยวแห้ง
การป้องกัน อย่ารดน้ำให้แฉะเกินไป และกำจัดเชื้อราในดินปลูกโดยการตากดินให้แห้ง
การรักษา ใช้ยาเนทริฟิน อัตราและคำแนะนำระบุไว้ตามฉลาก
ศัตรู ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องศัตรูรบกวน เพราะเป็นไม้ที่ทนต่อการทำลายของศัตรูพอสมควร