สอบถามเพิ่มเติมที่ 0xx-xxx-xxxx

ไทรย้อยใบแหลม

ชื่อสามัญ Weeping fig

ชื่อวิทยาศาสตร์ Ficus benjamina

ตระกูล MORACEAE

ถิ่นกำเนิด ตั้งแต่อินเดียมาจนถึงฟิลิปปินส์

ลักษณะทั่วไป

ไทรย้อยใบแหลมนี้เป็นไม้ประดับที่ได้รับความนิยม นำมาตกแต่งประดับประดาตามห้องหับ อาคารและสำนักงาน
เป็นอันมาก ใบของไทยพันธุ์นี้จะมีสีเขียวเมื่อยังอ่อนอยู่และจะมีสีเขียวเข้มเมื่อใบแก่เต็มที่ ลักษณะของใบที่ห้อย
ย้อยลงมามีความสวยงามมากถ้าปลูกอยู่นอกอาคารใบจะแน่นเป็นพุ่มเมื่อนำเข้ามาปลูกภายในห้องใบจะน้อยลง
และต้นจะสูงโปร่ง การเจริญเติบโตเร็วมาก
ไทรย้อยนี้เมื่อปลูกไปนานๆ จะมีรากอากาศแตกออกตามกิ่งก้านสามารถตัดเอาส่วนที่แตกรากนี้ไป ปลูกใหม่ได้
ไทรย้อยจะเจริญเติบโตได้ดีในห้องที่มีความอบอุ่น และยังสามารถทนได้แม้กระทั่งในห้องที่ร้อนอบอ้าว แต่ถ้านำ
ไปปลูกในห้องปรับอากาศมันจะหยุดการเจริญเติบโต เพื่อปรับตัวเองสักระยะหนึ่งแล้วค่อยเจริญ เติบโตต่อไป

การดูแลรักษา

แสง                              ต้องการแสงเต็มที่แต่ไม่ทั้งวัน เพียงแค่ 2-3 ช.ม. / วัน

อุณหภูมิ                        ชอบอุณหภูมิ ประมาณ 18- 24 องศาเซลเซียส

ความชื้น                      ถ้าอากาศแห้งแล้งควรฉีดพ่นน้ำที่ใบและกิ่งก้านบ้าง 3 – 4 วัน/ครั้ง

น้ำ                                ไม่จำเป็นต้องให้น้ำมาก ถ้าปลูกในบ้านควรให้สัปดาห์ละครั้ง ยกเว้นในหน้าร้อนควรตรวจดูความชื้นในวัสดุปลูกอย่าให้แห้งเป็นอันขาด

ดินปลูก                        ดินร่วน 2 ส่วน ปุ๋ยหมัก 1 ส่วน ทรายหยาบ 1 ส่วน

ปุ๋ย                                ให้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักโรยบริเวณโคนต้น หรืออาจจะละลายน้ำรดเดือนละครั้งก็ได้

กระถาง                         ควรเปลี่ยนกระถางทุกปี หรืออาจสังเกตจากรากโดยดูว่ารากของไทรเต็มกระถางหรือยัง ถ้าเต็มแล้วก็เปลี่ยนใหม่ได้แต่ควรตัดแต่งรากบ้าง

การขยายพันธุ์               ตอนตัดชำ

โรคและแมลง                ไม่ค่อยพบโรค จะพบแต่แมลงพวกไรแดง เพลี้ยหอยและเพลี้ยแป้ง

การป้องกันกำจัด          การฉีดพ่นด้วย มาลาไธออน (malathion) หรือ ไดอาชินอน (diazinon) ตามที่ฉลากระบุไว้