ชื่อวิทยาศาสร์ Strongylodon macrobotrys.
ตระกูล LEGUMINOSAE
ชื่อสามัญ Jade Vine.
ลักษณะทั่วไป
ต้น พวงหยกเป็นไม้เถาเลื้อย เนื้อแข็ง เถามีสีน้ำตาลเข้ม มักเลื้อยไปตามหลักต่าง ๆ หรือตามกำแพง
แล้วจะทิ้งต้นย้อยลงมา แลดูสวยงาม จึงนิยมปลูกพวงหยกบริเวณริมกำแพง ซุ้มประตู หรืออาจ
เป็นซุ้มที่นั่งเล่น หรือซุ้มในสวนสาธารณะ
ใบ ลักษณะของใบเป็นใบประกอบที่มีขนาดใหญ่ ใบมีความกว้างประมาณ 4 เซนติเมตร และยาว
ประมาณ 13 เซนติเมตร ใบจะออกสลับซ้าย – ขวา ไปตลอดกิ่ง และใบหนึ่งก้านใบ จะมีใบย่อย
3 ใบ ใบจะค่อนข้างรี มีปลายใบและโคนใบแหลม
ดอก ลักษณะของดอกจะออกเป็นช่อแล้วห้อยลง ดอกมีสีเขียวหยกดอกจะเริ่มทยอยบานจากบริเวณ
โคนช่อก่อน ลักษณะของตัวดอกนั้นจะคล้ายกับดอกแค แต่ดอกพวงหยกจะมีขนาดใหญ่กว่าดอก
แต่ละดอกจะมีก้านดอกยึดติดกับแกนของช่อรวมกันเป็นพวง มีกลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันเป็นรูประ
ฆังส่วนกลีบดอกนั้นจะแบน ภายในหนึ่งดอกจะมี 5 กลีบ มีขนาด ต่าง ๆ มีเกสรตัวผู้อยู่กลางดอก
10 กัน ช่อดอกที่สมบูรณ์มีความยาวประมาณ 65-70 เซนติเมตร
ฤดูกาลออกดอก
ออกดอกในช่วงฤดูหนาว
การปลูก
ปลูกโยการใช้เมล็ด จะต้องนำเมล็ดของพวงหยกมาเพราะในกะบะเพาะ เมื่อเมล็ดแตกเป็นต้นอ่อนมีใบแท้ 2 ใบ
ก็ให้ย้ายต้นอ่อนลงถุงกระดาษ ขนาดเล็กถุงละ 1 ต้น ช่วงแรกให้วางต้นกล้าไว้ในที่ร่มสัก 2 วัน แล้วจึงค่อยนำถุง
ต้นกล้าออกวางให้ได้รับแสงแดดบ้าง จนได้รับแสงแดดเต็มที่ ต้นกล้าก็จะมีใบเพิ่มขึ้นเป็น 4-6 ใบ หรือประมาณ
2 สัปดาห์ ก็สามารถนำต้นกล้าลงปลูกในบริเวณที่ต้องการได้
การปลูกให้ขุดหลุมปลูก ขนาดกว้าง ลึกประมาณ 1 x 1 ฟุต แล้วให้รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอกผสมกับขี้เถ้าแกลบ
หรือเศษใบไม้ในอัตราส่วน 1 x 1 แล้ววางถุงต้นกล้าลงกลางหลุม กลบดินพอเสมอโคนต้นกล้า รดน้ำให้ชุ่ม หลัง
จากนั้นให้รดน้ำเช้า – เย็นทุกวัน ประมาณ 2 เดือน จึงงดน้ำตอนเย็น ให้รดเฉพาะตอนเช้าเพียง 1 ครั้ง ก็พอ
การดูแลรักษา
แสง พวงหยกเป็นไม้กลางแจ้งที่ต้องการแสงแดดพอสมควร จึงเหมาะที่จะปลูกในบริเวณที่แสงแดดส่องได้ถึง
หรืออาจจะปลูกบริเวณรั้วบ้านก็ได้
น้ำ พวงหยกต้องการน้ำปานกลาง การให้น้ำควรให้วันละครั้ง ในตอนเช้าก็เพียงพอแล้ว
ดิน ดินที่จะใช้ปลูกพวงหยก มักจะเป็นดินร่วน หรือดินร่วนปนทรายที่สามารถระบายน้ำได้ดี หรือไม่เป็นดินเหนียว
ที่อุ้มน้ำไว้มากเกินไป
ปุ๋ย ปุ๋ยที่ใช้ส่วนใหญ่มักจะเป็นปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมักมากกว่าปุ๋ยเคมี แต่หากจะใช้ปุ๋ยเคมีก็ให้ใช้ปุ๋ยสำหรับไม้ดอกก็ได้
โรคและแมลง
โรคที่พบได้แก่ โรคใบจุด Phyllosticta leaf spot. อาการของโรค โรคใบจุดอาจทำให้ใบร่วงก่อนกำหนด
ถ้าบนตัวใบมีหลายจุด แต่ถ้าจุดมีเพียงเล็กน้อยประมาณ 1-2 จุด ใบก็จะยังไม่ร่วงก่อนกำหนด ใบที่เป็นโรคใบจุด
จะเริ่มมีจุดวงกลมสีน้ำตาลเล็ก ๆ และจะขยายใหญ่ขึ้นในเวลาต่อมา จนมีขนาด 2-3 เซนติเมตร เนื้อเยื่อตรงกลาง
แผลจะแห้งเป็นสีน้ำตาลอ่อนแต่ขอบแผลโดยรอบจะเป็นสีน้ำตาลเข้ม
สาเหตุโรคใบจุดเกิดจากเชื้อรา Phyllosticts sp. โดยเชื้อรา Phyllosticts sp. นี้จะมีการแพร่ระบาดโดย
สปอร์ ซึ่งเกิดขึ้นในจุดสีน้ำตาลดังกล่าว ซึ่งจุดสีน้ำตาลนี้จะเห็นได้ชัดในช่วงฤดูฝน
การป้องกันกำจัด
เนื่องจากโรคใบจุดมิใช่เป็นโรคที่สำคัญ หรือโรคทำความเสียหายมากนัก จึงมีวิธีป้องกันได้ง่าย ๆ โดยการเก็บรวบ
รวมที่ร่วงหล่นไปเผาทำลายเสีย
การขยายพันธุ์
พวงหยกมีวิธีการขยายพันธุ์โดยการปักชำกิ่ง