ชื่อวิทยาศาสร์ Osmanthus fragrans.
ตระกูล OLEACEAE
ชื่อสามัญ Osmanthus.
ลักษณะทั่วไป
ต้น สร้อยสุมาลีเป็ฯไม้ในวงค์ของมะลิ เป็นไม้เลื้อยยืนต้นหรือไม้รอเลื้อย มีลำต้นหรือเถาแข็งแรง
ลักษณะคล้ายคลึงกับต้นมะลิลามาก ต้นหรือเถาสร้อยสุมาลีมีความสูงประมาณ 8 ฟุต เถาสีน้ำตาล
เป็นพันธุ์ที่หาพันธุ์ได้ยากในเมืองไทย จึงทำให้มีราคาค่อนข้างสูง
ใบ สร้อยสุมาลีเป็นไม้ใบเดี่ยว ใบจะออกเป็นคู่เรียงขนานกันไปตามลำต้นหรือเถา ลักษณะของใบ
จะเรียบเกลี้ยง ใบเป็นรูปมนรี ปลายใบแหลมโคนใบก็แหลมเข้าหาก้านใบ ขอบใบเรียบ ก้าน
ใบสั้น ในมีขนาดความยาวประมาณ 5-8 เซนติเมตร
ดอก ออกดอกตามข้อต้นหรือตามซอกใบ ไปจนเกือบตลอดลำต้นหรือกิ่งดอกมีขนาดเล็ก มีสีขาว แต่
จะมีกลิ่นหอมจัดมาก และเมื่อดอกสร้อยสุมาลีบานเต็มที่พร้อมกันทั้งต้น ก็จะดูเป็นละอองฝอยสี
ขาว พรั่วพราวทั่วต้น พร้อมกับส่งกลิ่นหอมน่าหลงไหลมาก ดอกออกเป็นช่อ ๆ หนึ่ง ๆ จะมีความ
ยาวประมาณ 5 นิ้ว
ฤดูกาลออกดอก
สร้อยสุมาลีเป็นไม้ที่ออกดอกตลอดทั้งปี
การปลูก
ให้นำกิ่งสร้อยสุมาลีที่ได้จากการตอน มาปลูกลงกระถางหรือจะปลูกลงดินเลยก็ได้ ควรปลูกบริเวณ
ริมรั้ว หรืออาจปลูกเป็นซุ้มประตูก็ได้ ดดยขุดหลุมปลูกกว้างลึกประมาณ 1 x 1 ฟุต รองก้นหลุมด้วย
ปุ๋ยหมัก 1/4 ของหลุม แล้ววางกิ่งตอนลงกลางหลุม กลบดินพอแน่น แล้วรดน้ำให้ชุ่ม
การดูแลรักษา.
แสง สร้อยสุมาลีเป็นไม้กลางแจ้ง ต้องการแสงแดดมาก
น้ำ ต้องการน้ำปานกลาง แต่ต้องระวังอย่าให้น้ำท่วมขัง เพระาจะทำให้ระบบรากเน่าได้ และในทาง
กลับกันต้องอย่าให้ขาดน้ำจนดินบริเวณโคนต้นแห้งเป็นอันขาด เพราะถ้าขาดน้ำก็จะเฉาตาย
เช่นกัน จึงควรรดน้ำวันละ 2 ครั้ง ในช่วงเช้าและเย็น
ดิน ชอบขึ้นในดินร่วนปนทรายที่มีการระบายน้ำได้ดี
ปุ๋ย ให้ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก ใส่บริเวณโคนต้นปีละ 2-3 ครั้ง
โรคและแมลง
ไม่มีโรคและแมลงรบกวนถึงขั้นเสียหายมากนัก
การขยายพันธุ์
สร้อยสุมาลีมีวิธีขยายพันธุ์โดยการตอน การปักชำ และการทาบกิ่ง แต่สำหรับเมืองไทยแล้วนิยม
ขยายพันธุ์โดยการตอนมากกว่า