สอบถามเพิ่มเติมที่ 0xx-xxx-xxxx

มรกตแดง

ชื่อสามัญ Philodendron “Red Emerald”

ชื่อวิทยาศาสตร์ Philodendron sp.

ตระกูล ARACEAE

ลักษณะทั่วไป

มรกตแดงเป็นพรรณไม้เลื้อย ลำต้นมีความยาว 15-20 เมตร ลำต้นกลม มีสีแดงเป็นมัน ลักษณะลำต้นเป็นข้อ คล้ายกับต้นพลูด่าง แต่ลำต้นจะโตและแข็งแรงกว่า ซึ่งมีข้อประกอบด้วยก้านใบยาวประมาณ35นิ้วใบใหญ่เป็นมันปลายใบแหลมขอบใบเปนคลื่นใหญ่
พื้นใบมีสีเขียวอมแดงกลางใบมีเส้นใบเห็นได้ชัดขนาดใบกว้างประมาณ46นิ้วยาวประมาณ812นิ้วลักษณะใบใหญ่สวยงามมากกล้าย
กับบอน

การเป็นมงคล

คนไทยโบราณเชื่อว่าบ้านใดปลูกต้นมรกตแดงไว้ประจำบ้านจะทำให้มีคุณค่าสูงเพราะมรกตเปรียบเสมือนแก้วซึ่งเป็นแก้วที่มีสี
เขียวจัดอยู่ในพวกนพรัตน์ 9 อย่าง ได้แก่เพชรทับทิมมรกตบุษราคัมโกเมนนิลจินดาเพทายไพทูรย์ดังนั้นจึงถือว่าเป็นของสองที่
มีค่า นอกจากนี้ยังมีความเชื่ออีกว่ายังทำให้เกิดแรงดึงดูดตาดูดใจแก่บุคคลทั่วไป เพราะใบมีสีเขียวอมแดงมีเสน่ห์แรงแก่ผู้พบ
เห็น และยังเป็นไม้มงคลนามอีกด้วย

ตำแหน่งที่ปลูกและผู้ปลูก

เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านและผู้อาศัย ควรปลูกต้นมรกตแดงไว้ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ผู้ปลูกควรปลูกในวันอังคาร เพราะโบราณถือว่าการปลูกต้นไม้เอาประโยชน์ทางใบทั่วไปให้ปลูกในวันอังคาร

การปลูก

นิยม ปลูกเป็นไม้กระถางประดับทั้งภายในอาคารและภายนอกอาคารได้ดีควรใช้กระถางทรงสูงขนาด 10-16 นิ้วใช้ปุ๋ยคอก : ขุยมะพร้าว : ดินร่วน อัตราอย่างละ 1 ส่วน ผสมดินปลูก แล้วใช้ไม้หลักปักไว้กลางกระถางเพื่อให้เป็นที่ยึดเกาะของรากและเลื้อยไปตามหลัก ไม้หลักที่ใช้ควรเป็นไม้หลักหุ้มด้วยกาบมะพร้าวเพราะมีความนุ่มและชุ่มชื้นรากสามารยึดเกาะได้ดีการเปลี่ยนกระถางแล้วแต่
ขนาดของทรงพุ่มทั้งนี้ก็เพราะการขยายตัวของรากแน่นเกินไปและเพื่อประดับบริเวณบ้านและสวนควรปลูกให้ยึดเกาะกับต้นไม้
ใหญ่หรือไม้หลักที่แข็งแรง เพราะเป็นไม้ที่มีเถาเลื้อยโตและแข็งแรงมาก ซึ่งวิธีปลูกคล้ายกับการปลูกพลูด่าง

การดูแลรักษา

แสง                           ต้องการแสงน้อย หรือแสงรำไร

น้ำ                             ต้องการปริมาณน้ำปานกลาง ควรให้น้ำ 3 – 5 วัน/ครั้ง

ดิน                            ดินร่วนซุย ระบายน้ำได้ดี

ปุ๋ย                            ควรใส่ปุ๋ยคอก อัตรา 0.5-1 กิโลกรัม/ต้น ใส่1-2 เดือน/ครั้ง

การขยายพันธ์          ปักชำ ตอน การแยกต้น

วิธีที่นิยมและได้ผลดี  การปักชำ

โรค                            โรครากเน่า (Root rot) ไ

อาการ                        ใบเหลือง เหี่ยวแห้ง และร่วงในเวลาต่อมา

การป้องกัน                ควบคุมความชื้นของดินปลูกและวิธีการให้น้ำที่ถูกต้อง

การรักษา                   ใช้ยาไทแรม อัตราและคำแนะนำระบุไว้ในฉลาก

แมลง                        เพลี้ยต่างๆ (Aphis)

การป้องกัน            รักษาความสะอาดบริเวณสวนปลูก

การกำจัด                  ใช้ยามาลาไธออน (Malathion) หรือ ไดอาซินอน (Diazinon) อัตราและวิธีใช้ระบุไว้ตามฉลาก