สอบถามเพิ่มเติมที่ 0xx-xxx-xxxx
jung

จั๋ง

ชื่อสามัญ Lady palm ชื่อวิทยาศาสตร์ Rhapis exclesa. ตระกูล PALMAE ถิ่นกำเนิด ไทย จีน ญี่ปุ่น มาเลเซีย ลักษณะทั่วไป จั๋งเป็นปาล์มที่มีขนาดเล็ก ลำต้นมีขนาดเท่าหัวแม่มือหรือใหญ่กว่าเล็กน้อย โดยทั่วไปมีเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน 2 นิ้ว ลำต้นเป็นกอคล้ายกอไผ่ มีความแข็งแรงมาก กอหนึ่งจะสูงประมาณ 3 – 5 เมตร ใบมีสีเขียวเข้มเป็นมันรูปใบพัดและมีใบย่อยแตกออกจากกันเป็นแฉกลึกใบ 1 ใบจะมีใบย่อยประมาณ 5 – 10 ใบ ก้านใบเล็ก มีสีเขียวและแข็งยาวประมาณ 12 นิ้ว การดูแลรักษา แสง                          ชอบแสงแดดมาก น้ำ                            ต้องการน้ำพอประมาณ  ดิน                          เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุย ปุ๋ย                           ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก ปีละ 2 ครั้ง การขยายพันธ์          โดยการเพาะเมล็ดและแยกหน่อ (การเพาะเมล็ดจะได้ต้นที่มีรูปทรงสวยงามกว่า) โรคและแมลง           ทนทานต่อโรคและแมลงได้ดี

Read More »

ยางอินเดีย

ชื่อสามัญ Indian rubber ชื่อวิทยาศาสตร์ Ficus elastica roxb. ตระกูล MORACEAE ถิ่นกำเนิด ประเทศอินเดีย ลักษณะทั่วไป ยางอินเดียเป็นที่รู้จักกันมานานแล้วในบ้านเรา ใบมีสีเขียวเข้มเป็นมัน ใบหนาปลายใบแหลมยางอินเดียนี้ถ้าเกิดมีบาดแผลขึ้นไม่ว่าส่วนใดของลำต้นจะมีน้ำยางสีขาวข้นไหลออกมาทันที ยางอินเดียเมื่อปล่อยให้เจริญเติบโตไปนาน ๆ จะมีรากอากาศห้อยย้อยออกมาจากลำต้น โตเต็มที่อาจสูงถึง 30 เมตร เลยทีเดียว ต้นยางที่นิยมปลูก 1.ยางใบซอ 2.ยางด่าง ลักษณะทั่วไปการดูแลรักษา แสง                          ชอบแสงและทนความร้อนได้ดี น้ำ                             ต้องการน้ำปานกลาง ดิน                            เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุย ที่มีการระบายน้ำดี ปุ๋ย                            ควรใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก ปีละ 2-3 ครั้ง ในช่วงที่ยังเล็กอยู่ การขยายพันธ์           ตอนกิ่งหรือ ปักชำ โรคและแมลง            ทนต่อการรบกวนของโรคและแมลง

Read More »

ฤาษีผสม

ชื่อสามัญ Flame nettle หรือ Painted nettle ชื่อวิทยาศาสตร์ Coleus. ตระกูล LABIATAE ถิ่นกำเนิด เขตร้อนชื้น ลักษณะทั่วไป ฤาษีผสมมีอยู่มากมายหลายชนิด แต่ละชนิดก็จะมีใบที่มีสีสันสวยงามไม่น้อยไปกว่ากัน ใบมีลักษณะเป็นรูปหัวใจ ขอบใบจัก มีตั้งแต่สีเขียว ม่วง แดง น้ำตาล เป็นต้น ฤาษีผสมมีดอกที่ไม่สวยจึงไม่ได้รับความสนใจ การปลูกฤาษีผสมนิยมปลูกเป็นไม้คลุมดินหรือใช้ตกแต่งสวนหย่อมก็ได้ การดูแลรักษา แสง                          ต้องการแสงมาก เมื่อได้รับแสงสีของใบก็จะสดใสน่ามองยิ่งขึ้น น้ำ                             ให้น้ำพอประมาณ อย่าให้เปียกแฉะมากเกินไป ดิน                            เจริญเติบโตได้ในดินร่วนซุย ปุ๋ย                            ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก เพราะจะช่วยทำให้ดินร่วนซุย การขยายพันธ์          ตัดชำ และเพาะเมล็ด โรคและแมลง           ไม่ค่อยพบโรค ส่วนแมลงได้แก่ พวกเพลี้ยไฟและไรแดง การป้องกันกำจัด      ฉีดพ่นด้วยมาลาไธออนหรือไดอาซินอนอัตราตามที่ฉลากยาระบุไว้

Read More »

โกสน

ชื่อสามัญ Croton ชื่อวิทยาศาสตร์ Codiaeum varicgatum. ตระกูล EUPHORBIACEAE ถิ่นกำเนิด ตอนใต้ของมหาสมุทรแปซิฟิค ลักษณะทั่วไป โกสนเป็นพรรณไม้ยืนต้นประเภทไม้พุ่มขนาดย่อมลำต้นมีความสูงประมาณ 3-5 เมตร ผิวลำต้นเรียบสีน้ำตาลปนเทา ลำต้นตรง แตกกิ่งก้านเป็นพุ่มตรงกลม ใบแตกออกจากต้นและปลายกิ่ง ลักษณะใบมีรูปร่าง สีสันขนาด แตกต่างกันออกไปแล้วแต่ชนิดพันธุ์ ดอกออกเป็นพวงห้อยลงมาด้านล่างซึ่งออกมาจากปลายกิ่งพวงหนึ่งยาวประมาณ10-15เซนติเมตรดอกมีสีชาวดอกเล็กมากมีกลียบดอก 5 กลีบ ดอกบานเต็มที่จะเห็นเกสรตัวผู้เป็ฯเส้นฝอย การบานของดอกเป็นรูปทรงกลม การเป็นมงคล คนไทยโบราณเชื่อว่า บ้านใดปลูกต้นโกสนไว้ประจำบ้าน จะทำให้มีบุญบารมี เพราะโกสนโบราณคงกล่าวถึง กุศล คือ การส้างบุญ คุณงามความดีนอกจากนี้ยังมีความเชื่ออีกว่าสามารถช่วยคุ้มครองให้มีความอยู่เย็นเป็นสุขเพราะคนโบราณเชื่อว่าต้นโกสนเป็นต้นไม้เก่าแก่ที่ปลูกคู่บ้านคู่มืองโดยสมัยรัชกาลที่5 ทรงนำเข้ามาปลูกไว้ในพระราชวังบ้านขุนนางวัดหลวงเพื่อให้เกิดความร่วมเย็นเป็นสุขตลอดมา พันธุ์โกสนที่ใช้ปลูกเป็นไม้มงคล 1. เหรียญทอง2. ไกรทอง3. ทับทิมทอง4. ทองอุไร5. ผู้ชณะสิบทิศ6. มหาราช7. หมื่นหาญ8. รัตนโกสินทร์9. เศรษฐีสุพรรณ ตำแหน่งที่ปลูกและผู้ปลูก เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านและผู้อาศัย ควรปลูกต้นโกสนไว้ทางทิศตะวันออก ผู้ปลูกควรปลูกในวันอังคาร เพราะโบราณเชื่อว่าการปลูกไม้เพื่อเอาประโยชน์ทั่วไปทางใบให้ปลูกในวันอังคาร การปลูกแบ่งเป็น 2 วิธี 1.

Read More »

ปรง

ชื่อสามัญ Sago palm ชื่อวิทยาศาสตร์ Cycas revoluta ตระกูล CYCADACEAE ถิ่นกำเนิด ทางตะวันออก และตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปเอเซีย ลักษณะทั่วไป ใบของปรงมีขนาดเล็กคล้ายกับใบของปาล์ม แต่การเรียงตัวของใบนั้นคล้ายกับเฟิร์นข้าหลวง คือมีการเรียงตัวอยู่รอบ ๆ ศูนย์กลางของลำตัว ปรงเป็นพืชที่เลี้ยงง่าย เจริญเติบโตช้ามาก คือ 1 ปีจะเกิดใบเพียงแค่ใบเดียวเท่านั้น ปรงสามารถทนต่อการขาดน้ำได้เป็นอย่างดีและถ้าขาดน้ำนาน ๆ ใบของปรงจะแห้งเหี่ยวตายไป แต่พอได้รับน้ำอีกครั้งใบก็จจะเกิดขึ้นมาใหม่อีกครั้งหนึ่ง การดูแลรักษา แสง                          ชอบแสงแดดจัด น้ำ                             ปรงเป็นพืชที่ทนต่อการขาดน้ำและต้องการน้ำพอประมาณ ดิน                           ปลูกได้ในดินแทบทุกชนิดแต่จะเจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนทราย ปุ๋ย                           ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักบริเวณโคนต้น ปีละ 2 ครั้ง การขยายพันธ์          การเพาะเมล็ด โรคและแมลง            โรคนั้นไม่ค่อยมีรบกวนจะมีก็แต่แมลงจำพวกไรแดงและเพลี้ยหอย การป้องกันกำจัด      การกำจัดควรใช้ยาประเภทดูดซึมเพราะปรงมีใบเล็กและลื่น โดยใช้ยาไซกอนในอัตรา 20 กรัม ผสมน้ำ 20 ลิตร ราดให้ทั่วบริเวณโคนต้น

Read More »

ก้ามปูหลุด

ชื่อสามัญ                 : Wandering jewชื่อวิทยาศาสตร์         : Zebrina pandula.ตระกูล                     : COMMELINACEAE ถิ่นกำเนิด                   : เม็กซิโก ลักษณะทั่วไป ก้ามปูหลุดนี้เป็นไม้ประดับประเภทคลุมดินใบจะมีสีงดงามและแปลกตาคือใบก้ามปูจะมีสีสามสีพาดสลับไปตามความยาวของใบ ได้แก่ สีเขียว สีเท่า และสีม่วงเหตุที่ได้ชื่อว่าก้ามปูนั้นก็เพราะว่าลักษณะของใบที่แตกออกมาจากลำต้นนั้นคล้ายกับก้ามปู ก้ามปูหลุดเป็นพืชอวบ น้ำขยายพันธุ์ได้ง่ายเมื่อถูกแสงแดด สีสันจะเข้มสวยงามมาก นิยมปลูกประดับไว้ตามข้างตัวอาคารบ้านเรือนหรือจัดสวนหย่อม รวมกับไม้ประดับชนิดอื่นๆ การดูแลรักษา แสง                     : ชอบแสงแดดจัดน้ำ                       : ควรให้น้ำในปริมาณที่น้อย แต่ให้บ่อยครั้งดิน                      : เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนหรือดินร่วนปนทรายปุ๋ย                      : ให้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักปีละ 2 ครั้ง หรือ จะให้หลังจากการตัดแต่งทุกครั้งก็ได้การขยายพันธุ์       : ปักชำโรคและแมลง        : ไม่ค่อยจะพบปัญหาเรื่องโรค และแมลง

Read More »

หัวใจสีม่วง

ชื่อสามัญ Purple heart ชื่อวิทยาศาสตร์ Setcreasea purpurea. ตระกูล COMMELINACEAE ถิ่นกำเนิด เม็กซิโก ลักษณะทั่วไป หัวใจสีม่วงเป็นพรรณไม้ล้มลุกที่เลี้อยคลุมดิน อยู่ในตระกูลเดียวกันกับปลาบและผิวพเนจรใบมีสีม่วงเข้มลักษณะคล้ายหอก เนื้อใบนุ่มยาวประมาณ 10 – 15 ซ.ม. โคนใบโอบรอบลำต้นออกดอกเป็นช่อ ดอกหนึ่งมี 3 กลีบ และมักจะออกในช่วงฤดูร้อน การดูแลรักษา แสง                          ชอบแสงแดดจัด น้ำ                             ไม่ต้องการน้ำมากนัก แต่ควรให้น้ำอยู่เป็นประจำ ดิน                            เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนทราย ปุ๋ย                            ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก ละลายน้ำรดเดือนละครั้ง การขยายพันธ์          แยกหน่อและปักชำ โรคและแมลง            ไม่ค่อยพบโรค ศัตรูส่วนมากที่ทำลายจะเป็นแมลง ได้แก่ เพลี้ยหอย เพลี้ยอ่อน                                   และเพลี้ยแป้ง                                  การป้องกันกำจัด      ใช้ยาดูดซึมจำพวกไซกอน โดยใช้ในอัตรา 20 กรัม ผสมน้ำ 20 ลิตร รดให้ทั่ว

Read More »

สับปะรด

ชื่อสามัญ Pineapple ชื่อวิทยาศาสตร์ Ananas Comosus. ตระกูล BROMELIACEAE ถิ่นกำเนิด บราซิล โคลัมเบีย ลักษณะทั่วไป สับปะรดเป็นพืชที่คนไทยรู้จักกันดี แต่คงจะมีไม่กี่คนที่จะรู้จัก นำเอาสับปะรดเข้ามาปลูกประดับภายในบริเวณบ้าน สับปะรดที่ใช้ปลูกประดับล้วนแล้วแต่มีสีงดงามทั้งนั้น หรือบางครั้งก็อาจใช้สับปะรดสำหรับรับประทานเข้ามาปลูกประดับก็ดูเก๋ไปอีกแบบ และสับปะรดอีกสายพันธุ์ที่เป็นที่นิยมและมีสีสันที่โดดเด่นอีกทั้งยังเป็นที่นิยมให้การปลูกไว้เป็นไม้ประดับก็คือสับปะรดเทศ การดูแลรักษา แสง                           ชอบแสงและต้องการแสงแดดมาก น้ำ                             ในช่วงที่ยังตั้งตัวไม่ได้ต้องรดน้ำให้สม่ำเสมอ พอสับปะรดตั้งตัวได้แล้วก็ไม่จำเป็นต้องรดน้ำบ่อยนัก ดิน                            เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนทรายที่มีการระบายน้ำได้ดี ปุ๋ย                            ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก ใส่รอบ ๆ โคนต้น การขยายพันธ์           แยกหน่อและตัดจุกปักชำ โรคและแมลง            ไม่ค่อยพบ จะมีก็แต่แมลงพวกเพลี้ยต่าง ๆ การป้องกันกำจัด      ไม่ค่อยมีโรคและแมลงรบกวน

Read More »

ลิ้นมังกร

ชื่อสามัญ Mather – in – law’s Tongue ชื่อวิทยาศาสตร์ Sancivieria ตระกูล AGAVACEAE ถิ่นกำเนิด แถบทวีปยุโรปและอเมริกาเหนือ ลักษณะทั่วไป ลิ้นมังกรเป็นพรรณไม้ ที่มีลำต้นเป็นหัว หรือเหง้าอยู่ในดิน ลักษณะลำต้นเป็นข้อ ๆ ใบเกิดจากหัวที่โผล่ออมาพ้นดินเป็นกอ ลักษณะใบยาวปลายแหลม แข็งเป็นมัน ขอบใบเรียบ โค้งงอเล็กน้อย ขอบใบมีสีเหลืองกลางใบสีเขียวอ่อน ประด้วยเส้นสีเขียวเข้ม ขนาดของใบกว้างปรมาณ 4-7 เซนติเมตร ยาวประมาณ 30-50 เซนติเมตร ก้านดอกประกอบด้วยกลุ่มดอกป็นชั้น ๆ ลักษณะดอกมีขนาดเล็ก ออเรียงกันเป็นแนวตามชั้นของก้านดอกดอกมีสีขาวมีกลีบประมาณ 5 กลีบ นาดดอกบานเต็มที่ 2 เซนติเมตร ลักษณะขนาดใบ และสีสรร จะแตกต่างกันไปตามชนิดพันธุ์ การเป็นมงคล คนไทยโบราณเชื่อว่า บ้านใดปลูกต้นลิ้นมังกรไว้ประจำบ้าน จะช่วยป้องกันอันตรายจากภายนอกได้ เพราะลิ้นมังกร บางคนเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าหอกพระอินทร์ ซึ่งเป็นอาวุธชนิดหนึ่งของพระอินทร์ ที่ใช้ในการต่อสู้และปกป้องศัตรูจากภายนอก ดังนั้นลิ้นมังกรจึงเป็นไม้ที่มีความศักดิ์สิทธิ์ เพราะเป็นไม้ที่มีความสำคัญของพระอินทร์ในสมัยพุทธกาล ตำแหน่งที่ปลูกและผู้ปลูก

Read More »

ยูคคา

ชื่อสามัญ Dagger lant ชื่อวิทยาศาสตร์ Yucca aloifolia. ตระกูล AGAVACEAE ถิ่นกำเนิด ประเทศเม็กซิโกและกัวเตมาลา ลักษณะทั่วไป ยูคคาเป็นไม้ประดับที่ค่อนข้างจะแข็งแรง มีความทนทานต่อความแห้งแล้วและสภาพแวดล้อมของอากาศ ได้เป็นอย่างดี ลักษณะของใบ จะคล้ายหอก มีสีเขียวอมเทา ที่ปลายใบจะมีหนามแข็งและแหลมคมมาก ยูคคาเหมาะที่จะใช้ตกแต่งสวนหรือจะปลูกเป็นกลุ่มหลาย ๆ ต้น ตามบริเวณบ้านทำให้ดูสวยงามแปลกตาไปอีกแบบ การดูแลรักษา แสง                          ต้องการแสงมาก น้ำ                            ให้น้ำอย่างเพียงพอ แต่ไม่ต้องให้บ่อยนัก ดิน                           ชอบดินร่วนทราย ปุ๋ย                           ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักบริเวณโคนต้นปีละ 2 ครั้ง การขยายพันธ์           แยกหน่อ โรคและแมลง            ไม่ค่อยพบโรคและแมลงรบกวน

Read More »