สอบถามเพิ่มเติมที่ 0xx-xxx-xxxx

เพชรไพลิน

ชื่อสามัญ –

ชื่อวิทยาศาสตร์ Cordyline sp.

ตระกูล LILIACEAE

ลักษณะทั่วไป

เพชรไพลินเป็นไม้พวกเดียวกับหมากผู้หมากเมีย ที่มีลำต้นตรงกลมขนาดเล็ก มีความสูงประมาณ 1-3 เมตร ลำต้นสีน้ำตาล
มีข้อถี่ตามลำต้นซึ่งเป็นรอยของกาบใบ ลักษณะเป็นรูปหอก ปลายใบแหลม โคนใบสอบเข้าหาก้านใบ ขนาดใบกว้างประมาณ
2-3 นิ้วยาวประมาณ 8-12 นิ้วต่างกันที่สีของใบพื้นใบมีสีเขียวด่างเหลืองอ่อนเป็นทางยาวตามแนวตลอดทั้งใบขอบใบจะแต้ม
ด้วยสีชมพู เป็นเส้นเล็ก ๆ ก้านใบมีสีเขียว

การเป็นมงคล

คนไทยโบราณเชื่อว่า บ้านใดปลูกต้นเพชรไพลินไว้ประจำบ้าน จะทำให้เกิดคุณค่าที่สูง เพราะเพชรคืออัญมณีที่มีค่าสูง ดังนั้นเพชรไพลินจึงเป็นของสูงที่มีค่าชนิดหนึ่ง ดังนั้นเพชรไพลินจึงเป็นไม้มงคลนาม นอกจากนี้โบราณยังมีความเชื่อ 
อีกว่ายังทำให้เกิดความอยู่เย็นเป็นสุขเพราะเพชรไพลินเป็นพรรณไม้เดียวกับหมากผู้หมากเมียซึ่งคนไทยโบราณนิยม
ปลูกไว้ประจำบ้านมาตั้งแต่สมัยโบราณกาล

ตำแหน่งที่ปลูกและผู้ปลูก

เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านและผู้อาศัย ควรปลูกต้นเพชรไพลินไว้ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ผู้ปลูกควรปลูกในวันอังคาร เพราะโบราณเชื่อว่าการปลูกไม้เพื่อเอาประโยชน์ทั่วไปทางใบให้ปลูกในวันอังคาร

การปลูกมี 2 วิธี

1. การปลูกในกระถางเพื่อประดับภายในและภายนอกอาคาร ควรใช้กระถางทรงสูง ขนาด 8-16 นิ้ว ใช้ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก :
   แกลบผุ:ดินร่วนอัตรา 1 : 1 : 1 ผสมดินปลูกควรเปลี่ยนกระถาง 1 : 2 ปี/ครั้งเพราะการขยายตัวของทรงพุ่มโตขึ้นและเพื่อ
   เปลี่ยนดินปลูกใหม่ ทดแทนดินปลูกเดิมที่เสื่อมสภาพไป
2.การปลูกในแปลงปลูกเพื่อประดับบริเวณบ้านและสวนโบราณนิยมปลูกไว้เป็นแนวรั้วรอบบ้านหรือบริเวณสวนหน้าบ้าน
   ขนาดหลุมปลูก 30 x 30 x 30 เซนติเมตร ใช้ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก : ดินร่วน อัตรา 1 : 1 ผสมดินปลูก

การดูแลรักษา

แสง                          ต้องการแสงแดดรำไร หรือแสงแดดปานกลาง

น้ำ                             ต้องการปริมาณน้ำมาก ควรให้น้ำ 3-5 วัน/ครั้ง

ดิน                           ชอบดินร่วนซุย ดินร่วนปนทราย ต้องการความชื้นสูง

ปุ๋ย                           ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก อัตรา 0.5-1 กิโลกรัม/ต้น ควรใส่ 5-6 ครั้ง/ปี

การขยายพันธ์          การปักชำ วิธีที่นิยมและได้ผลดี คือ การปักชำ

โรค                            ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องโรค เพราะเป็นไม้ที่ทนทานต่อโรคพอสมควร

แมลง                        เพลี้ยหอย

อาการ                  
ถูกดูดกินน้ำเลี้ยง ทำให้ยอดอ่อนและใบแห้งสีน้ำตาล และแห้งเหี่ยวในที่สุด

การป้องกัน
               รักษาความสะอาดบริเวณแปลงปลูก กำจัดมดที่เป็นพาหะแพร่ระบาดด้วยยาเช่นเดียวกับการกำจัด

การกำจัด                  ตัดกิ่งที่มีเพลี้ยหอยเผาไฟทำลาย ใช้ยาเมธาซีสทอกซ์ อัตราและคำแนะนำระบุไว้ตามฉลาก