สอบถามเพิ่มเติมที่ 0xx-xxx-xxxx
palmkrod

ปาล์มขวด

ชื่อสามัญ Royal palm ชื่อวิทยาศาสตร์ Roystonea reqia. ตระกูล PALMAE ถิ่นกำเนิด คิวบา(ปาล์มขวดเป็นต้นไม้ประจำชาติของประเทศคิวบา) ลักษณะทั่วไป ปาล์มขวดนี้มีลักษณะพิเศษเฉพาะตัวคือ ตอนที่ยังเล็กอยู่จะป่องพองออกบริเวณโคนต้น แต่พอโตขึ้นอาการป่องพอนี้ก็จะไปเกิดที่กลางลำต้น โตเต็มที่ลำต้นสูงประมาณ 50-70 ฟุต ใบยาว 6-10 ฟุต ทางใบสั้น ใบย่อยจะงอกออกจากแกนกลางใบเป็น 4 แถว มีกาบใบสีเขียวเรียบเป็นมัน ห่อลำต้นไว้แลดูงดงามยิ่งนัก นิยมปลูกเป็นไม้ประดับตามขอบถนนหรือปลูกในสนามหญ้าก็ได้ การดูแลรักษา แสง                         ต้องการแสงแดดจัด น้ำ                           ในระยะที่กำลังเจริญเติบโตจะต้องการน้ำมาก ดิน                          ขึ้นได้ในดินแทบทุกชนิด ปุ๋ย                          ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก ปีละ 2 ครั้ง การขยายพันธ์          โดยการเพาะเมล็ด เพราะว่าปาล์มขวดไม่มีหน่อ โรคและแมลง           ไม่ค่อยพบโรคและแมลงที่เป็นปัญหา

Read More »
palm

แชมเปญปาล์ม

ชื่อสามัญ Bottle palm ชื่อวิทยาศาสตร์ Mascarena lagenicaulis. ตระกูล PALMAE ถิ่นกำเนิด เกาะมาสคารีน ลักษณะทั่วไป แชมเปญปาล์มมีใบรูปขนนก คล้ายปาล์มขนนก ใบสีเขียวเข้ม ก้านใบยาวประมาณ 18-26 นิ้ว ทางใบยาว 6-7 ฟุตปลายทางใบบิดเล็กน้อย ทางใบทั้งหมดจะกางออกจากยอดและโค้งลงด้านล่าง ใบย่อยยาวประมาณ 18 นิ้ว กว้างประมาณ 2 นิ้ว ใบหนึ่งใบจะมีใบย่อยประมาณ 30-50 คู่ ต้นหนึ่งจะมีใบไม่เกิน5-6 ใบ แชมเปญปาล์มเป็นปาล์มที่มีลำต้นเดียว ๆ สูงไม่เกิน 4 เมตร การดูแลรักษา สง                          ต้องการแสงมาก น้ำ                             ต้องการน้ำในปริมาณที่น้อย ดิน                           เจริญเติบโตในดินแทบทุกชนิด ปุ๋ย                            ควรใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก ปีละ 2 ครั้ง ในขณะที่ยังเล็กอยู่ การขยายพันธ์          โดยการเพาะเมล็ด โรคและแมลง           ไม่ค่อยพบโรคและแมลงที่เป็นปัญหา

Read More »
palmjen

ปาล์มจีน

ชื่อสามัญ Chiness fan palm, Fountain palm ชื่อวิทยาศาสตร์ Livistonia chinensis ตระกูล PALMAE ถิ่นกำเนิด จีน มาเลเซีย ไทย ฟิลิปปินส์ นิวกินี และออสเตรเลีย ลักษณะทั่วไป เป็นปาล์มที่มีลักษณะเป็นต้นเดียวโดด ๆ ไม่แตกหน่อแตกกอ ลำต้นมีสีน้ำตาล สูงประมาณ 20-30 ฟุตต้นโตประมาณ 1 ฟุต ตอนที่ยังเป็นต้นเล็ก ๆ ที่ก้านใบจุมีหนามสีชมพูอ่อน ๆ และจะหายไปเองเมื่อโตขึ้น ใบมีสีเขียวเข้ม เส้นจุดกลางใบสีเหลืองอ่อน ขนาดของใบโตเต็มที่ประมาณ 4-6 ฟุต ผลแก่มีสีดำคล้ำเป็นพวงใหญ่ ต้นยังไม่สูงเท่าไหร่ก็ออดอกออกผลได้แล้ว การดูแลรักษา แสง                          ต้องการแสงตลอดวัน น้ำ                            ต้องการน้ำมากในช่วงที่กำลังเจริญเติบโต ดิน                           ขึ้นได้ในดินทุกชนิด ปุ๋ย                           ควรใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก ปีละ 2 ครั้ง ในขณะที่ยังเล็กอยู่ การขยายพันธ์          โดยการเพาะเมล็ด โรคและแมลง            ทนทานต่อการระบาดของโรคและแมลงได้เป็นอย่างดี

Read More »
sangjun2

แสงจันทร์

ชื่อสามัญ Lettuce tree ชื่อวิทยาศาสตร์ Pisonia grandis. ตระกูล NYCTAGINACEAE ลักษณะทั่วไป แสงจันทร์ เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลาง ลำต้นมีความสูงประมาณ 5-10 เมตร ผิวเปลือกลำต้นสีขาวเทา ผิวลำต้นเรียบลำต้นและกิ่งเจริญออกไปรอบต้นใบสีเหลืองอมเขียวอ่อน ปลายใบแหลมขอบใบเรียบ ใบเป็นใบเดี่ยว แตกออกตามข้อ ของกิ่ง เนื้อใบมองเห็นเส้นใบได้ชัด ใบบางนิ่ม ขนาดความกว้างของใบประมาณ 10-15 เซนติเมตร ยาวประมาณ 20-30เซนติเมตรดอกออกเป็นช่อช่อดอกประกอบด้วยดอกเล็กๆติดอยู่ที่ก้านดอกประมาณ 10 – 15 ดอกมี 5 กลีบสีขาวช่อดอกจะออกตามปลายยอด การเป็นมงคล คนไทยโบราณเชื่อว่าบ้านใดปลูกต้นแสงจันทร์ไว้ประจำบ้านจะทำให้เกิดความงดงามนิ่มนวลเพราะลักษณะใบแสงจันทร์ มีสีเหลืองอมเขียวอ่อน ๆ เมื่อกระทบแสงจันทร์แล้วจะเกิดประกายแสงสีเหลืองนวลเด่นงานสดใสเหมือนแสงจันทร์นอกจากนี้ยังมี การเปรียบเทียบ ความสวยงามเหมือนกับแสงจันทร์ เพราะรัศมีของพระจันทร์ส่องแสงสีเหลือง นวลดูเด่นงามตา ตำแหน่งที่ปลูกและผู้ปลูก เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านและผู้อาศัย ควรปลูกต้นแสงจันทร์ไว้ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ผู้ปลูกควรปลูกในวันอังคาร เพราะโบราณเชื่อว่าการปลูกไม้เอาประโยชน์ทั่วไปทางใบ ให้ปลูกในวันอังคาร ถ้าจะให้เป็นสิริมงคลแก่ตนเอง ผู้ปลูกควรเป็นสุภาพสตรี เพราะแสงจันทร์เป็นชื่อที่เหมาะสมสำหรับสุภาพสตรี นอกจากนี้ลักษณะความสวยงาม ก็เปรียบเสมือนกับสุภาพสตรีอีกด้วย การปลูกมี 2 วิธี

Read More »
paksasavan

ปักษาสวรรค์

ชื่อสามัญ Bird of paradise ชื่อวิทยาศาสตร์ Strelitzia reginae. ตระกูล MUSACEAE ถิ่นกำเนิด อัฟริกาใต้ ลักษณะทั่วไป ปักษาสวรรค์เป็นพืชที่มีความสวยงามมาก โดยเฉพาะดอกของมันดูแล้วคล้ายกับนกที่กำลังบินอยู่บนท้องฟ้าปักษาสวรรค์นี้เราจะปลูกไว้เพื่อชมดอกของมันโดยเฉพาะ ใบมีสีเขียวเข้ม ลักษณะรูปใข่ แต่ตอนปลายใบจะเรียวแหลมคล้ายกับหอก ใบยาวประมาณ 12-16 นิ้ว ตั้งอยู่บนก้านใบที่แข็งแรงยาวประมาณ 17-18 นิ้ว ปักษาสวรรค์จะเริ่มให้ดอกเมื่ออายุประมาณ 6 ปี นิยมปลูกเป็นกลุ่มตามสนามเพื่อให้ออกดอก ก่อให้เกิดความสดชื่นแก่ผู้พบเห็น การดูแลรักษา แสง                          ต้องการแสงมากตลอดทั้งวัน น้ำ                             ต้องการน้ำในปริมาณที่พอเหมาะ ดิน                            เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนปนทรายที่มีการระบายน้ำดี ปุ๋ย                            ควรใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก การขยายพันธ์          โดยการแยกหน่อ เพาะเมล็ด โรคและแมลง           ไม่ค่อยจะพบโรคที่เป็นอันตราย จะพบก็แต่แมลงพวกเพลี้ย การป้องกันกำจัด    ควรใช้ยาดูดซึมพวกไซกอน อัตรา 20 กรัม ผสมน้ำ 20 ลิตร ราดรดให้ทั่วบริเวณต้นจะกำจัดเพลี้ยได้ดี 

Read More »
kouypad

กล้วยพัด

ชื่อสามัญ Traveller’s tree ชื่อวิทยาศาสตร์ Ravenala madagascariensis ตระกูล Strelitziaceae ถิ่นกำเนิด ประเทศมาดากัสการ์ ลักษณะทั่วไป กล้วยพัดเป็นพืชอวบน้ำที่มีลักษณะแตกต่างไปจากกล้วยธรรมดาโดยทั่ว ๆ ไป คือใบจะมีลักษณะเหมือนกับใบกล้วยแต่จะมีความแข็งกว่ามาก แกนของใบจะแผ่ออกสองข้าง ทำให้มีลักษณะคล้ายพัดขนาดใหญ่ การเรียงตัวของก้านใบนั้น จะเรียงตัวกันอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย แลดูสวยงามมาก ลำต้นจะเกิดเป็นต้นเดี่ยว ๆ สูงประมาณ 6-9 เมตรแม้จะปลูกเอาไว้ต้นเดียวก็สวยงามไม่น้อย การดูแลรักษา แสง                         กล้วยพัดชองแสงแดดจัด ควรปลูกไว้กลางแจ้ง น้ำ                            ให้น้ำพอประมาณอย่าให้ขังแฉะ ต้องการความชื้นสูง ดิน                           ดินที่ปลูกควรเป็นดินที่อมความชื้นได้บ้าง ปุ๋ย                           ควรใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก บริเวณโคนต้น ปีละ 2 ครั้ง การขยายพันธ์          โดยการแยกหน่อ โรคและแมลง           ทนทางต่อโรคและแมลงมาก

Read More »

ไทรย้อย

ชื่อสามัญ Weeping fig ชื่อวิทยาศาสตร์ Ficus benjamina ตระกูล MORACEAE ถิ่นกำเนิด ในประเทศเขตร้อน โดยเฉพาะทวีปเอเซีย เช่น ไทย อินเดีย มาเลเซีย ลักษณะทั่วไป ไทยย้อยมีอยู่หลายชนิด มีทั้งใบกลมและใบยาวรี โดยทั่วไปใบของไทรย้อยจะยาวประมาณ1 – 2 นิ้ว ก้านใบอ่อน ใบมีสีเขียวเป็นมัน เป็นไม้พุ่มขนาดกลางที่มีทรงพุ่มหนาทึบแผ่กิ่งก้านสาขาทิ้งใบห้อยระย้าแลดูสวยงามและมีรากอากาศแตกออกจากลำต้น ย้อยลงสู่พื้นดินเป็นจำนวนมาก การดูแลรักษา แสง                          ชอบแสงมาก ควรปลูปไว้กลางแจ้ง น้ำ                             ให้น้ำพอประมาณอย่าให้ขังแฉะ หรือน้อยจนดินแห้ง ดิน                            เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนปนทราย ปุ๋ย                            ควรใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก ปีละ 2 ครั้ง การขยายพันธ์           ปักชำและเพาะเมล็ด โรคและแมลง           โรคไม่ค่อยพบที่เป็นปัญหา ส่วนแมลงที่พบบ่อยที่สุดคือ เพลี้ยแป้ง การป้องกันกำจัด      ฉีดพ่นด้วยมาลาไธออนหรือไดอาซินอนตามอัตราที่แนะนำไว้ในฉลาก

Read More »

ยางด่าง

ชื่อสามัญ Rubber plant ชื่อวิทยาศาสตร์ Ficus elastica “variegata” ตระกูล MORACEAE ถิ่นกำเนิด ยางด่างนี้เกิดจากการกลายพันธุ์ในประเทศเบลเยี่ยม ลักษณะทั่วไป ยางด่างนี้จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ทรงพุ่มหนาและทึบ จะมีรากอากาศแตกออกมาตามลำต้น ใบหนาและค่อนข้างแข็ง มีความมันเลื่อมเส้นกลางใบเป็นสีครีม ส่วนกลางใบจะมีสีเขียวเข้มปนสีเขียวอมเทาริมใบด่างเหลืองและสีครีม ส่วนยอดอ่อนจะมีสีแดงสด ต้นยางที่นิยมปลูก 1.ยางยางใบซอ 2.ยางอินเดีย การดูแลรักษา แสง                           ชอบแสงมาก โดยเฉพาะแสงแดดที่จัด น้ำ                             ให้น้ำพอประมาณอย่าให้ขังแฉะ ดิน                            เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนปนทราย ปุ๋ย                            ควรใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักที่โคนต้น ปีละ 2 ครั้ง การขยายพันธ์           ตอนกิ่งและ ปักชำ โรคและแมลง            ไม่ค่อยพบโรคและแมลงรบกวน

Read More »

ยางอินเดีย

ชื่อสามัญ Indian rubber ชื่อวิทยาศาสตร์ Ficus elastica roxb. ตระกูล MORACEAE ถิ่นกำเนิด ประเทศอินเดีย ลักษณะทั่วไป ยางอินเดียเป็นที่รู้จักกันมานานแล้วในบ้านเรา ใบมีสีเขียวเข้มเป็นมัน ใบหนาปลายใบแหลมยางอินเดียนี้ถ้าเกิดมีบาดแผลขึ้นไม่ว่าส่วนใดของลำต้นจะมีน้ำยางสีขาวข้นไหลออกมาทันที ยางอินเดียเมื่อปล่อยให้เจริญเติบโตไปนาน ๆ จะมีรากอากาศห้อยย้อยออกมาจากลำต้น โตเต็มที่อาจสูงถึง 30 เมตร เลยทีเดียว ต้นยางที่นิยมปลูก 1.ยางใบซอ 2.ยางด่าง ลักษณะทั่วไปการดูแลรักษา แสง                          ชอบแสงและทนความร้อนได้ดี น้ำ                             ต้องการน้ำปานกลาง ดิน                            เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุย ที่มีการระบายน้ำดี ปุ๋ย                            ควรใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก ปีละ 2-3 ครั้ง ในช่วงที่ยังเล็กอยู่ การขยายพันธ์           ตอนกิ่งหรือ ปักชำ โรคและแมลง            ทนต่อการรบกวนของโรคและแมลง

Read More »

ชบา

ชื่อสามัญ Chinese rose ชื่อวิทยาศาสตร์ Hibiscus rosa sinensis. ตระกูล MALVACEAE ถิ่นกำเนิด จีน อินเดียและฮาวาย ลักษณะทั่วไป ชบาในบ้านเรารู้จักกันมานานแล้ว จะเห็นได้จากบ้านคนสมัยก่อนจะมีชบายอยู่แทบทุกบ้านปัจจุบันชบาได้รับการผสมพันธุ์เพื่อให้ได้พันธุ์ใหม่ออกมามากมาย ซึ่งล้วนแต่สวย ๆ งาม ๆทั้งนั้น ทำให้ได้ดอกของชบาที่มีรูปร่างสวยงามสีสันของดอกสดใส ขบานั้นจัดเป็นไม้พุ่ม ความสูงดดยทั่วไปประมาณ 2.50 เมตร ใบมีสีเขียวเข้ม มนรี ปลายใบแหลม แต่ปัจจุบันก็ยังมีพันธุ์แตกต่างออกไปอีกมากมาย การดูแลรักษา แสง                          ชอบแสงแดดมาก น้ำ                             ต้องการน้ำพอประมาณ ดิน                           เป็นไม้ที่ปลูกได้ง่ายสามารถเจริญเติบโตได้ในดินแทบทุกชนิด แต่ไม่ควรให้ดินเปียกหรือแฉะเกินไป ปุ๋ย                           ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก การขยายพันธ์          ตอน ปักชำ โรคและแมลง           ไม่ค่อยมีโรคจะมีก็แต่เพลี้ยที่รบกวนอยู่ การป้องกันกำจัด      ฉีดพ่นด้วยยามาลาไธออนหรือไดอาซินอน ตามคำแนะนำที่ระบุไว้ในฉลาก

Read More »