สอบถามเพิ่มเติมที่ 0xx-xxx-xxxx

พุทธรักษา

ชื่อสามัญ Canna, Indian shoot ชื่อวิทยาศาสตร์ Canna generalis ตระกูล CANNACEAE ถิ่นกำเนิด หมู่เกาะฮาวาย ลักษณะทั่วไป พุทธรักษาเป็นพรรณไม้ล้มลุก เนื้ออ่อนอวบน้ำ ลำต้นมีความสูงประมาณ 1-2 เมตร มีลำต้นอยู่ใต้ดินเรียกว่า เหง้า มีการเจริญเติบโตโดยแตกหน่อเป็นกอคล้ายกับกล้วย ลักษณะหน่อที่เจริญเป็นต้นเหนือพื้นดินนั้นมีลักษณะกลมแบนสีเขียวขนาดลำต้นโตประมาณ 2-4 เซนติเมตร ใบมีขนาดใหญ่สีเขียวโคนใบและปลายใบรีแหลม ขอบใบเรียบ กลางใบเป็นเส้นนูนเห็นได้ชัดโคนใบมีก้านใบซึ้งยาวเป็นกาบใบหุ้มลำต้นซ้อนสลับกัน ขนาดใบกว้างประมาณ 10-15 เซนติเมตร ยาวประมาณ 25-35 เซนติเมตร ออกดอกเป็นช่อตรงส่วนยอดของลำต้น ช่อดอกยาวประมาณ 15-20 เซนติเมตร ประกอบด้วยดอก 8-10 ดอก และมีกลีบดอกบางนิ่ม ขนาดของดอกและสีสรรแตกต่างกันไปตามชนิดพันธุ์ การเป็นมงคล คนโบราณเชื่อว่า บ้านใดปลูกต้นพุทธรักษาไว้ประจำบ้านจะช่วยคุ้มครอง ป้องกันอันตรายแก่บ้านและผู้อาศัยได้ เพราะพุทธรักษาเป็นพรรณไม้ที่คนโบราณเชื่อว่า มีพระเจ้าคุ้มครองรักษาให้มีความสงบสุข คือเป็นไม้มงคลนั่นเอง ตำแหน่งที่ปลูกและผู้ปลูก เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านและผู้อาศัย ควรปลูกต้นพุทธรักษาไว้ทางทิศตะวันตก ผู้ปลูกควรปลูกในวันพุธ เพราะโบราณเชื่อว่าการปลูกไม้เอาประโยชน์ทั่วไปทางดอกให้ปลูกในวันพุธ การปลูก นิยมปลูก

Read More »

สับปะรด

ชื่อสามัญ Pineapple ชื่อวิทยาศาสตร์ Ananas Comosus. ตระกูล BROMELIACEAE ถิ่นกำเนิด บราซิล โคลัมเบีย ลักษณะทั่วไป สับปะรดเป็นพืชที่คนไทยรู้จักกันดี แต่คงจะมีไม่กี่คนที่จะรู้จัก นำเอาสับปะรดเข้ามาปลูกประดับภายในบริเวณบ้าน สับปะรดที่ใช้ปลูกประดับล้วนแล้วแต่มีสีงดงามทั้งนั้น หรือบางครั้งก็อาจใช้สับปะรดสำหรับรับประทานเข้ามาปลูกประดับก็ดูเก๋ไปอีกแบบ และสับปะรดอีกสายพันธุ์ที่เป็นที่นิยมและมีสีสันที่โดดเด่นอีกทั้งยังเป็นที่นิยมให้การปลูกไว้เป็นไม้ประดับก็คือสับปะรดเทศ การดูแลรักษา แสง                           ชอบแสงและต้องการแสงแดดมาก น้ำ                             ในช่วงที่ยังตั้งตัวไม่ได้ต้องรดน้ำให้สม่ำเสมอ พอสับปะรดตั้งตัวได้แล้วก็ไม่จำเป็นต้องรดน้ำบ่อยนัก ดิน                            เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนทรายที่มีการระบายน้ำได้ดี ปุ๋ย                            ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก ใส่รอบ ๆ โคนต้น การขยายพันธ์           แยกหน่อและตัดจุกปักชำ โรคและแมลง            ไม่ค่อยพบ จะมีก็แต่แมลงพวกเพลี้ยต่าง ๆ การป้องกันกำจัด      ไม่ค่อยมีโรคและแมลงรบกวน

Read More »

ครุฑใบกุหลาบ

ชื่อสามัญ Variegated rose leaf ชื่อวิทยาศาสตร์ Pollyscias paniculata “variegata” ตระกูล ARALIACEAE ถิ่นกำเนิด แถบร้อนอัฟริกา อินเดีย และหมู่เกาะแปซิฟิค ลักษณะทั่วไป ครุฑใบกุหลาบมีทรงพุ่มสูงประมาณ 1 – 1.5 เมตร ลำต้นมีสีน้ำตาลและมีขีดเล็ก ๆ สีเหลืองอ่อนตามลำต้นลำต้นเป็นข้อแตกกิ่งแขนงตามข้อของลำต้น ประกอบด้วยใบย่อย 7 ใบ ออกตรงข้ามกัน กว้างประมาณ4-5 ซ.ม. ยาวประมาณ 6-8 ซ.ม. ใบที่อยู่ปลายจะใหญ่กว่าใบที่อยู่ถัดไป พื้นใบสีเขียวเข้มส่วนกลางใบจะด่างสีขาวครีม และนอกจากครุฑใบกุหลาบแล้วก็ยังมี ครุฑทอง ที่เป็นที่นิยม การดูแลรักษา แสง                          ชอบแสง น้ำ                             ต้องการน้ำพอประมาณ ดิน                            เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุย ปุ๋ย                            ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักปีละ 2 ครั้ง การขยายพันธ์           โดยการตอนหรือปักชำ โรคและแมลง            ไม่ค่อยพบ จะมีก็แต่แมลงพวกเพลี้ยต่าง ๆ การป้องกันกำจัด       ฉีดพ่นด้วยมาลาไธออกหรือไดอาซินอนทุก ๆ 15 วัน ตามอัตราที่ระบุไว้ในฉลากจนกว่าจะหาย

Read More »

ครุฑใบเฟิร์น (ครุฑกนกหรือครุฑทอง)

ชื่อสามัญ                : Fern Leaf araliaชื่อวิทยาศาสตร์        : Polysias filicifoliaตระกูล                  : ARALIACEAEถิ่นกำเนิด               : เขตร้อนของอัฟริกา อินเดียและหมู่เกาะแปซิฟิค ลักษณะทั่วไป ครุฑชนิดนี้สูงประมาณ 2 เมตร ลำต้นมีลักษณะเป็นข้อสีน้ำตาล ก้านใบสีเขียวอ่อน มีข้อสีเหลืองอ่อนทั่วไปตามกิ่งก้านและลำต้น มีใบย่อย 7-11 ใบ ขอบใบเว้าลึกลงไปเกินครึ่งหรือเกือบถึงเส้นกลางใบ แต่ในต้นเดียวกันบางกิ่งก็ม่เว้าเลยทำให้มองดูแตกต่างกันแม้จะเป็นต้นเดียวกันก็ตาม ครุฑใบเฟิร์นมีใบสีเขียวอ่อน และถ้าได้รับแสงแดดจัดจะมีสีเหลืองทองสวยงามมาก การดูแลรักษา แสง                : ชอบแสง น้ำ                  : ต้องการน้ำพอสมควร ดิน                 : เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุยปุ๋ย                 : ให้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักปีละประมาณ 2 ครั้งการขยายพันธุ์       : โดยการตอนหรือปักชำ โรคและแมลง       : ไม่ค่อยพบโรคจะมีแต่แมลงพวกเพลี้ยต่างๆการป้องกันกำจัด    : ฉีดพ่นด้วยมาลาไธออนหรือไดอาซินอน ทุกๆ 15 วัน ตามอัตราที่ระบุไว้ในฉลากจนกว่าจะหาย

Read More »

ครุฑตีนกบ

ชื่อสามัญ Variegated balfour aralia ชื่อวิทยาศาสตร์ Polysias bafouriana “marginata” ตระกูล ARALIACEAE ถิ่นกำเนิด แถบร้อนอัฟริกา อินเดีย และหมู่เกาะแปซิฟิค ลักษณะทั่วไป ครุฑตีนกบนี้เป็นไม้พุ่ม มีความสูงประมาณ 1 – 1.5 เมตร ลำต้นมีสีน้ำตาลอ่อน มีกระสีเขียวอ่อนตามลำต้นและกิ่งก้านในประกอบด้วยใบย่อย 3 ใบ มีลักษณะคล้ายกับไต ใบกว้างประมาณ 8 ซม. พื้นใบมีสีเขียว แต่ที่ขอบใบจะมีสีขาวครีมขอบใบหยักและมีหนามเล็กน้อยที่ขอบใบส่วนโคนของก้านใบมีลักษณะเป็นกาบเหมาะที่จะปลูกเป็นกลุ่มเป็นกอบสนามหญ้าหรือจะใช้จัดสวนหย่อมก็ได้ การดูแลรักษา แสง                          ชอบแสง น้ำ                             ต้องการน้ำพอประมาณ ดิน                            เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุย ปุ๋ย                            ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักปีละ 2 ครั้ง การขยายพันธ์           โดยการตอนหรือปักชำ โรคและแมลง            ไม่ค่อยพบ จะมีก็แต่แมลงพวกเพลี้ยต่าง ๆ การป้องกันกำจัด       ฉีดพ่นด้วยมาลาไธออกหรือไดอาซินอนทุก ๆ 15 วัน ตามอัตราที่ระบุไว้ในฉลากจนกว่าจะหาย

Read More »

ครุฑเขียวใบใหญ่

ชื่อสามัญ Dinner plate aralia ชื่อวิทยาศาสตร์ Polysias bafouriana ตระกูล ARALIACEAE ถิ่นกำเนิด เขตร้อนของอัฟริกา อินเดีย และหมู่เกาะแปซิฟิค ลักษณะทั่วไป ครุฑเขียวใบใหญ่นี้ บางทีก็เรียกว่า ครุฑอีแปะหรือครุฑจาน ใบมีสีเขียวอมเหลือง ขอบใบหยักมีหนามสีน้ำตาลอ่อน ๆที่ขอบใบ ส่วนโคนของก้านใบส่วนที่ติดกับลำต้นมีลักษณะเป็นกาบ ลำต้นมีสีเขียวอมเทา เมื่อมีอายุมากขึ้นลำต้นจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอ่อน ครุฑใบใหญ่นี้ เมื่อนำไปปลูกควรปลูกเป็นกอหลาย ๆ ต้น เพื่อจะได้เกิดเป็นพุ่มได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ยังมีครุฑชนิดอื่นๆ ที่เป็นที่นิยมไม่แพ้กัน ขอยกตัวอย่างเช่น ครุฑตีนกบที่เหมาะสำหรับในการจัดทำสวนหย่อมหรือทำกรอบสนามหญ้า การดูแลรักษา แสง                          ชอบแสง น้ำ                             ต้องการน้ำพอประมาณ ดิน                            เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุย ปุ๋ย                            ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักปีละ 2 ครั้ง การขยายพันธ์           โดยการตอนหรือปักชำ โรคและแมลง            ไม่ค่อยพบ จะมีก็แต่แมลงพวกเพลี้ยต่าง ๆ การป้องกันกำจัด       ฉีดพ่นด้วยมาลาไธออกหรือไดอาซินอนทุก ๆ 15 วัน ตามอัตราที่ระบุไว้ในฉลากจนกว่าจะหาย

Read More »

แพงพวย

ชื่อสามัญ Madagascar periwinkle ชื่อวิทยาศาสตร์ Catharanthus roseus “G. Don”. ตระกูล APOCYNACEAE ถิ่นกำเนิด อเมริกากลาง ลักษณะทั่วไป แพงพวยนี้เป็นไม้ล้มลุก เจริญเติบโตได้ดีแตกกิ่งก้านสาขาได้อย่างมากมาย ใบสีเขียวเข้ม ลักษณะกลมรีขอบใบเรียบ ใบยาวประมาณ 2 นิ้ว และกว้างประมาณ 1 นิ้ว ออกดอกบริเวณยอดของต้น ดอกของแพงพวยจะมีสองสีคือแดงและขาว นิยมปลูกประดับไว้ตามสนามหญ้า ข้างทางเดินหรือข้างถนน การปลูกจะปลูกเป็นแถวหรือเป็นกลุ่ม การดูแลรักษา แสง                          ต้องการแสงแดดจัด น้ำ                             ต้องการน้ำพอสมควร อย่าให้น้ำขังแฉะ ดิน                            เจริญเติบโตได้ในดินแทบทุกชนิด ปุ๋ย                            ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักปีละ 2 ครั้ง การขยายพันธ์           โดยการเพาะเมล็ด แพงพวยเป็นพืชที่เจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็วมาก โรคและแมลง            ไม่ค่อยพบโรคและแมลงรบกวน

Read More »

ลิ้นมังกร

ชื่อสามัญ Mather – in – law’s Tongue ชื่อวิทยาศาสตร์ Sancivieria ตระกูล AGAVACEAE ถิ่นกำเนิด แถบทวีปยุโรปและอเมริกาเหนือ ลักษณะทั่วไป ลิ้นมังกรเป็นพรรณไม้ ที่มีลำต้นเป็นหัว หรือเหง้าอยู่ในดิน ลักษณะลำต้นเป็นข้อ ๆ ใบเกิดจากหัวที่โผล่ออมาพ้นดินเป็นกอ ลักษณะใบยาวปลายแหลม แข็งเป็นมัน ขอบใบเรียบ โค้งงอเล็กน้อย ขอบใบมีสีเหลืองกลางใบสีเขียวอ่อน ประด้วยเส้นสีเขียวเข้ม ขนาดของใบกว้างปรมาณ 4-7 เซนติเมตร ยาวประมาณ 30-50 เซนติเมตร ก้านดอกประกอบด้วยกลุ่มดอกป็นชั้น ๆ ลักษณะดอกมีขนาดเล็ก ออเรียงกันเป็นแนวตามชั้นของก้านดอกดอกมีสีขาวมีกลีบประมาณ 5 กลีบ นาดดอกบานเต็มที่ 2 เซนติเมตร ลักษณะขนาดใบ และสีสรร จะแตกต่างกันไปตามชนิดพันธุ์ การเป็นมงคล คนไทยโบราณเชื่อว่า บ้านใดปลูกต้นลิ้นมังกรไว้ประจำบ้าน จะช่วยป้องกันอันตรายจากภายนอกได้ เพราะลิ้นมังกร บางคนเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าหอกพระอินทร์ ซึ่งเป็นอาวุธชนิดหนึ่งของพระอินทร์ ที่ใช้ในการต่อสู้และปกป้องศัตรูจากภายนอก ดังนั้นลิ้นมังกรจึงเป็นไม้ที่มีความศักดิ์สิทธิ์ เพราะเป็นไม้ที่มีความสำคัญของพระอินทร์ในสมัยพุทธกาล ตำแหน่งที่ปลูกและผู้ปลูก

Read More »

ยูคคา

ชื่อสามัญ Dagger lant ชื่อวิทยาศาสตร์ Yucca aloifolia. ตระกูล AGAVACEAE ถิ่นกำเนิด ประเทศเม็กซิโกและกัวเตมาลา ลักษณะทั่วไป ยูคคาเป็นไม้ประดับที่ค่อนข้างจะแข็งแรง มีความทนทานต่อความแห้งแล้วและสภาพแวดล้อมของอากาศ ได้เป็นอย่างดี ลักษณะของใบ จะคล้ายหอก มีสีเขียวอมเทา ที่ปลายใบจะมีหนามแข็งและแหลมคมมาก ยูคคาเหมาะที่จะใช้ตกแต่งสวนหรือจะปลูกเป็นกลุ่มหลาย ๆ ต้น ตามบริเวณบ้านทำให้ดูสวยงามแปลกตาไปอีกแบบ การดูแลรักษา แสง                          ต้องการแสงมาก น้ำ                            ให้น้ำอย่างเพียงพอ แต่ไม่ต้องให้บ่อยนัก ดิน                           ชอบดินร่วนทราย ปุ๋ย                           ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักบริเวณโคนต้นปีละ 2 ครั้ง การขยายพันธ์           แยกหน่อ โรคและแมลง            ไม่ค่อยพบโรคและแมลงรบกวน

Read More »

อากาเว่

ชื่อสามัญ               : Century plantชื่อวิทยาศาสตร์       : Agave americanaตระกูล                  : AGAVACEAEถิ่นกำเนิด               : ประเทศเม็กซิโก ลักษณะทั่วไป อากาเว่นี้เป็นไม้ประดับที่อยู่ในตระกูลเดียวกับป่านศรนารายณ์ ต้นที่โตเต็มที่จะสูงประมาณ 2.5 เมตร ใบจะมีสีเขียวอมเทานิดๆบางต้นอาจมีใบยาวถึง 2 เมตร ที่ขอบใบจะมีหนามแข็งๆ เต็มไปหมด อากาเว่เป็นพืชที่ทนต่อความแห้งแล้งและการขาดน้ำได้เป็นอย่างดี อีกทั้งการเจริญเติบโตยังช้ารอีดด้วย กล่าวกันว่ากว่าที่อากาเว่จะออกดอกได้อาจต้องใช้เวลานับ 10 ปี เลยทีเดียว การดูแลรักษา แสง                       : ต้องการแสงแดดมาก น้ำ                          : ต้องการน้ำน้อย อาจจะรดน้ำอาทิตย์ละครั้ง ก็ได้ ดิน                         : เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนทราย ปุ๋ย                         : ให้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักปีละประมาณ 2 ครั้งการขยายพันธุ์       : แยกหน่อและเพาะเมล็ด โรคและแมลง       : ทนต่อโรคและแมลงมาก จึงไม่ค่อยจะพบเห็นเท่าไหร่

Read More »